เครื่องเร่งอนุภาค, เครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น <em>โปรตอน</em>หรือ<em>อิเล็กตรอน</em> โดยใช้แรงแม่เหล็กและ/หรือไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น <em>ไซโคลทรอน</em> <em>ซิงโครทรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น</em> และ<em>บีตาทรอน</em>[นิวเคลียร์]
ปฏิยานุภาค, อนุภาคที่มีมวล ประจุไฟฟ้า และเลขสปิน เท่ากับอนุภาคนิวเคลียร์ชนิดเดียวกัน แต่มีประจุไฟฟ้าและหรือโมเมนต์แม่เหล็กตรงข้ามกัน ตัวอย่างโปรตอนมีประจุไฟฟ้า +1 ส่วนแอนติโปรตอนมีประจุไฟฟ้า[นิวเคลียร์]
เครื่องเร่งอนุภาค, เครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น โปรตอนหรืออิเล็กตรอน โดยใช้แรงแม่เหล็กและ/หรือไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น ไซโคลทรอน ซิงโครทรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น และบีตาทรอน[นิวเคลียร์]
อิเล็กตรอน, อนุภาคมูลฐานที่เป็นส่วนประกอบของอะตอม มีประจุไฟฟ้าลบ และมีมวล 1 ใน 1873 ส่วนของมวลโปรตอน โดยแต่ละอะตอมจะมีอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่งอยู่ล้อมรอบนิวเคลียสที่มีประจุบวก สำหรับอะตอมที่เป็นกลางจำนวนอิเล็กตรอนจะเท่ากับจำนวนโปรตอนและเป็นตัวกำหนดสมบัติทางเคมีของอะตอม[นิวเคลียร์]
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอแกรฟฟ์, เครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตศักย์สูง โดยประจุไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดประจุถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพานซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักย์ไฟฟ้าสูง เครื่องนี้สามารถสะสมประจุจนกระทั่งมีศักย์ไฟฟ้าสูงถึง 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุ มักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น รอเบิร์ต แวน เดอ แกรฟฟ์ (Robert Van de Graaff) เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ในปี พ.ศ. 2474, Example: [นิวเคลียร์]
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอแกรฟฟ์, เครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตศักย์สูง โดยประจุไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดประจุถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพานซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักย์ไฟฟ้าสูง เครื่องนี้สามารถสะสมประจุจนกระทั่งมีศักย์ไฟฟ้าสูงถึง 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุ มักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น รอเบิร์ต แวน เดอ แกรฟฟ์ (Robert Van de Graaff) เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ในปี พ.ศ. 2474[นิวเคลียร์]
ผลผลิตการแยกสลายด้วยรังสี, สารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีสารใดๆ เช่น การฉายรังสีอาหาร รังสีจะถ่ายเทพลังงานให้โมเลกุลต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร เช่น น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า และ เกิดการแยกสลาย ได้อนุมูลอิสระซึ่งไม่เสถียรและทำปฏิกิริยากับสารที่เป็นองค์ประกอบของอาหารได้สารประกอบต่างๆ ที่มีโมเลกุลเล็กลง[นิวเคลียร์]
โปรตอน, อนุภาคมูลฐานที่มีประจุไฟฟ้าบวกหนึ่งหน่วย มีมวลประมาณ 1837 เท่าของอิเล็กตรอน โปรตอนเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสทุกชนิด เลขเชิงอะตอม ของอะตอมใด ๆ จะเท่ากับจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมนั้น[นิวเคลียร์]
โฟตอน, กลุ่มหนึ่งๆ ของพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีโมเมนตัมซึ่งเป็นลักษณะของอนุภาค แต่ไม่มีมวลหรือประจุไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์[นิวเคลียร์]
นิวทริโน, อนุภาคมูลฐานที่มีมวลน้อยมาก ไม่มีประจุไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูง และมีปฏิสัมพันธ์กับสสารน้อย ทำให้ตรวจหาได้ยาก พบได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์หลายชนิด เช่น การสลายแบบให้อนุภาคบีตา รวมทั้งอนุภาคจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านมายังโลก, Example: [นิวเคลียร์]
ตัวเก็บประจุไฟฟ้า[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ไอออน, อะตอมหรือโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้าจากการสูญเสียหรือได้รับอิเล็กตรอนหนึ่งอนุภาคหรือมากกว่า อะตอมหรือโมเลกุลที่สูญเสียอิเล็กตรอนจะเป็นไอออนบวก ถ้าได้รับอิเล็กตรอนเข้ามาจะเป็นไอออนลบ[นิวเคลียร์]
เครื่องเร่งอนุภาค, เป็นเครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น โปรตรอน หรืออิเล็กตรอน โดยใช้แรงแม่เหล็ก หรือแรงไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น ไซโคลตรอน ซินโครตรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น และบีตาตรอน[พลังงาน]
เครื่องไซโคลตรอน , เป็นเครื่องสำหรับเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ผู้ประดิษฐ์คือ Earnest O. Lawrence ชาวอเมริกัน ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2482 ในเครื่องเร่งอนุภาคชนิดนี้ อนุภาคถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็ถูกควบคุมด้วยสนามแม่เหล็ก ให้วิ่งวนเป็นวงออกไป เมื่อได้ความเร็วที่เหมาะสม ก็จะถูกปล่อยให้ไปชนกับเป้าที่ต้องการ เครื่องเร่งนี้ใช้ในการวิจัยทางฟิสิกส์พื้นฐาน และการผลิตสารไอโซโทปรังสี[พลังงาน]
เครื่องกำเนิดนิวตรอน, เป็นเครื่องผลิตนิวตรอนพลังงานสูง โดยการเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น ดิวเทอรอน (deuteron) ให้มีพลังงานจลน์ในช่วง 150-500 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ แล้วให้ชนกับเป้าบางๆ โดยทั่วไปปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ใช้ในการผลิตนิวตรอน ได้จากการเร่งดิวเทอรอนให้ชนกับตริเตรียม(tritium) ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ ดังสมการ[พลังงาน]
เรดิโอไลติกโปรดักส์, คือ สารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีอาหาร เมื่อรังสีทะลุผ่านอาหาร รังสีจะถ่ายเทพลังงานให้โมเลกุลต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร เช่น น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า และเกิดปฏิกิริยาเรดิโอไลซิส ได้อนุมูลอิสระซึ่งไม่เสถียร และไปทำปฏิกิริยากับสารที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร ได้สารประกอบต่างๆ ที่มีโมเลกุลเล็กลง ซึ่งเรียกโดยรวมว่า เรดิโอไลติก โปรดักส์ การเกิดอนุมูลอิสระนอกจากจะเกิดจากการใช้รังสีแล้ว ยังเกิดจากการใช้ความร้อน เช่น การต้ม การทอด การอบ การย่าง และการปิ้ง และอนุมูลอิสระที่เกิดจากการใช้ความร้อนนี้ทำให้เกิดสารประกอบต่างๆ ที่มี โมเลกุลเล็กลงได้เช่นกัน แต่เรียกโดยรวมว่าเทอร์โมไลติกโปรดักส์ และเมื่อเปรียบเทียบกับเรดิโอไลติกโปรดักส์ พบว่า สารประกอบส่วนใหญ่เป็นชนิดเดียวกัน และเป็นสารประกอบที่ตรวจพบได้ในอาหารที่ไม่ได้ฉายรังสี[พลังงาน]
เครื่องแวนเดอกราฟ, เป็นเครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตย์ศักดาสูง ซึ่งประจุไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพาน ซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักดาไฟฟ้าสูง ระบบทั้งหมดนี้อยู่ในถังความดันที่บรรจุแก๊สเฉื่อยทางไฟฟ้า เช่น ฟรีออนความดันสูงไม่น้อยกว่า 15 บรรยากาศ จะสามารถเก็บประจุซึ่งมีศักดาไฟฟ้าสูงถึงประมาณ 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้นำมาใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าได้ และมักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น เรียกชื่อตาม Robert Van de Graaff ชาวเนเธอร์แลนด์ ซึ่งประดิษฐ์เครื่องมิอนี้ ในปี พ.ศ. 2474[พลังงาน]
สารเคมีที่เติมลงไปในยางเพื่อช่วยลดการสะสมของประจุไฟฟ้าบนผิวยาง เช่น เขม่าดำเกรดที่นำไฟฟ้าได้ดี (Conductive black) เกลือของแอมโมเนียม เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ประจุลบ, มีประจุลบ, มีประจุไฟฟ้าลบ[การแพทย์]
ต้านการเกิดประจุไฟฟ้าสถิต, ต้านไฟฟ้าสถิตย์[การแพทย์]
มีประจุไฟฟ้าบวก, มีประจุบวก, สารที่มีประจุ[การแพทย์]
ประจุ, อัดแบตเตอรี่, เก็บประจุไฟฟ้าไว้[การแพทย์]
ประจุไฟฟ้าที่กระจายออกมา[การแพทย์]
ตาแฉะ, ขี้ตา, ออกจากโรงพยาบาล, สิ่งไหลออก, การลดประจุไฟฟ้า, สิ่งปลดปล่อย, น้ำเหลือง, มีของไหล, ปล่อยประจุไฟฟ้าออกไป, ถูกขับออกมา[การแพทย์]
ประจุไฟฟ้าซึ่งมีจำนวนเท่ากันและมีขั้วตรงกันข้าม[การแพทย์]
ทฤษฏีเกี่ยวกับประจุไฟฟ้า[การแพทย์]
สมดุลของประจุไฟฟ้า[การแพทย์]
ประจุไฟฟ้า, เกรเดียนต์ของไฟฟ้าเคมี[การแพทย์]
แรงที่เกิดจากประจุไฟฟ้าต่างชนิดกัน[การแพทย์]
พาหะ, 1. สิ่งมีชีวิตที่นำเอาลักษณะทางพันธุกรรมหรือเชื้อโรคไปถ่ายทอดให้แก่สิ่งมีชีวิตอื่น 2. อิเล็กตรอนซึ่งเป็นตัวพาประจุไฟฟ้าในตัวนำหรือสารกึ่งตัวนำ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เซลล์ทุติยภูมิ, เซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดหนึ่งที่เมื่อความต่างศักย์ของเซลล์ลดลงแล้วสามารถจะประจุไฟฟ้าเข้าไปใหม่ได้อีก เช่น แบตเตอรี่ ที่ใช้ในรถยนต์ทั่ว ๆ ไป เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เซลล์ปฐมภูมิ, เซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดหนึ่งซึ่งปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าโดยตรง เมื่อความต่างศักย์ของเซลล์ลดลงหรือหมดไป ไม่สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ได้ เช่น ถ่านไฟฉายที่ใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แอนไอออน, อะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่แสดงอำนาจประจุไฟฟ้าลบ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไฮโดรเนียมไอออน, ไอออนที่เกิดจากการรวมกันระหว่างโปรตอนกับโมเลกุลของน้ำ (H+ + H2O ® H3O+) ไฮโดรเนียมไอออนนี้มีประจุไฟฟ้าบวกและ เป็นส่วนที่ทำให้สารละลายมีสมบัติเป็นกรด[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไฮดรอกไซด์ไอออน, ไอออนที่เกิดจากการแตกตัวของน้ำหรือสารที่มีสมบัติเป็นเบส มีประจุไฟฟ้าลบและเป็นส่วนที่ทำให้สารละลายมีสมบัติเป็นเบส ดังตัวอย่าง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไอออนบวก, แคตไอออน, อะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่แสดงอำนาจประจุไฟฟ้าบวก[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไอออน, อะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่มีประจุไฟฟ้าบวกหรือลบ เช่น H+, OH- เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
กระแสไฟฟ้า, ปริมาณประจุไฟฟ้าที่ผ่านตัวนำไฟฟ้าใน 1 หน่วยเวลา ใช้สัญลักษณ์ I มีหน่วยเป็นแอมแปร์[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
การเหนี่ยวนำไฟฟ้าสถิต, การทำให้เกิดประจุไฟฟ้าบนผิวของตัวนำโดยการนำวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าเข้ามาใกล้[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, คลื่นซึ่งเกิดจากการสั่นของประจุไฟฟ้าหรือเกิดจากประจุไฟฟ้าที่มีความเร่ง คลื่นนี้ประกอบด้วยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าที่เปลี่ยนค่าตลอดเวลาและตั้งฉากซึ่งกันและกัน แผ่กระจายออกจากแหล่งกำเนิดคลื่นด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ความจุ, สมบัติในการเก็บประจุไฟฟ้าของตัวนำหรือตัวเก็บประจุ มีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างจำนวนประจุไฟฟ้าบนตัวนำหรือตัวเก็บประจุกับความต่างศักย์ไฟฟ้าของตัวนำหรือตัวเก็บประจุนั้น ใช้สัญลักษณ์ C[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
คูลอมบ์, สัญลักษณ์ของหน่วยประจุไฟฟ้า ดู coulomb[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
คูลอมบ์, หน่วยประจุไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ C โดยกำหนดว่า ประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ คือ จำนวนประจุที่ผ่านตัวนำใน 1 วินาที เมื่อมีกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว, เซลล์ไฟฟ้าทุติยภูมิชนิดหนึ่ง ใช้แผ่นตะกั่วไดออกไซด์เป็นขั้วบวก แผ่นตะกั่วเป็นขั้วลบ และสารละลายกรดซัลฟิวริกเป็นอิเล็กโทรไลต์ เมื่อประกอบเข้าเป็นเซลล์ไฟฟ้าแล้ว ต้องนำไปประจุไฟฟ้าก่อนจึงจะมีพลังงานไฟฟ้าจ่ายออกมาจากเซลล์ไฟฟ้า และเมื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าหมดแล้วก[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ตัวเก็บประจุ, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งมีสมบัติในการเก็บประจุไฟฟ้า ตัวเก็บประจุอย่างง่าย ๆ ประกอบด้วยแผ่น ตัวนำคู่เดียวหรือหลายคู่ซึ่งมีฉนวนคั่นระหว่าง แผ่นตัวนำ มีสมบัติสำคัญ อีกประการหนึ่ง คือให้ไฟฟ้ากระแสสลับผ่านได้แต่ไม่ยอมให้ไฟฟ้า กระแสตรงผ่าน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ตัวนำ, สารที่มีสมบัติยอมให้ประจุไฟฟ้าผ่านไปได้ เช่น ทองแดง เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ตัวนำไฟฟ้า, สารที่มีสมบัติยอมให้ประจุไฟฟ้าผ่าน หรือสารที่ถ่ายโอนประจุไฟฟ้าได้ดี เช่น โลหะต่าง ๆ เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]