น้ำยางธรรมชาติ[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
น้ำยางวัลคาไนซ์[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
น้ำยางสกิม[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
น้ำยาง[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
น้ำยางสังเคราะห์[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
น้ำยาง[TU Subject Heading]
เครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น, เป็นเครื่องเร่งอนุภาคแบบหนึ่ง ใช้เร่งอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนจะถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรงภายใต้สนามไฟฟ้าสถิตย์(electrostatic field) หรือสนามไฟฟ้าสลับย่านความถี่คลื่นวิทยุ (Radio frequency field) เครื่องเร่งอนุภาคทั้งสองแบบ ให้อิเล็กตรอนที่มีช่วงพลังงานแตกต่างกัน ในเครื่องเร่งแบบไฟฟ้าสถิตย์ (electrostatic accelerator)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องเร่งแบบกระแสตรง (DC-accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรง ภายใต้ความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว เครื่องเร่งชนิดนี้สามารถเร่งลำอิเล็กตรอนให้มีพลังงานระหว่าง 0.1-0.5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ นิยมใช้ในงานเคลือบผิววัตถุ การปรับปรุงคุณภาพวัสดุ เช่น ฉนวนหุ้มสายไฟ การวัลคาไนซ์ของน้ำยาง ในเครื่องเร่งแบบใช้สนามไฟฟ้าย่านความถี่คลื่นวิทยุ (high frequency accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งผ่านท่อทรงกระบอกซึ่งเรียงกันเป็นเส้นตรง และต่อกับแหล่งกำเนิดศักดาไฟฟ้าซึ่งสลับขั้วด้วยความถี่ในย่านของคลื่นวิทยุ เครื่องเร่งนี้สามารถเร่งลำอิเลคตรอนให้มีพลังงานสูงในช่วง 5-10 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ เหมาะสำหรับงานผลิตเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ และงานวิจัยทางฟิสิกส์[พลังงาน]
1.วัสดุคอมพาวด์: กลุ่มอนุภาคของวัสดุหนึ่งหรือหลายกลุ่มที่อยู่ด้วยกันอย่างหลวมๆ 2.น้ำยาง: กลุ่มของอนุภาคยางในสารละลายแขวนลอยน้ำยาง 3.เขม่าดำ: การรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนของเขม่าดำที่ยึดกันด้วยแรงแวนเดอวาล์ว (van der waal) เนื่องจากปกติอนุภาคของเขม่าดำจะไม่อยู่แยกกันเป็นอนุภาคเดี่ยวๆ แต่จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มของอนุภาคและกลุ่มของอนุภาคจะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ก้อนอย่างถาวร[เทคโนโลยียาง]
ยางแผ่นผึ่งแห้งหรือยางแผ่นไม่รมควัน ผลิตโดยเติมกรดลงในน้ำยางสดเพื่อให้ยางจับตัวกันและแยกตัวออกจากน้ำซีรัม นำยางที่ได้ทำการรีดเป็นแผ่นด้วยเครื่องรีดแบบ 2 ลูกกลิ้ง นำไปล้างน้ำแล้วนำไปตากหรือผึ่งแดดเพื่อไล่ความชื้นที่อยู่ภายในแผ่นยาง[เทคโนโลยียาง]
ปริมาณด่างอิสระทั้งหมดในน้ำยาง แสดงเป็นปริมาณแอมโมเนีย เนื่องจากส่วนใหญ่จะรักษาสภาพน้ำยางข้นด้วยสารละลายแอมโมเนีย ค่านี้จะบ่งชี้ว่าการรักษาสภาพของน้ำยางเพียงพอหรือไม่ และจะปรับไล่แอมโมเนียออกปริมาณเท่าใดเมื่อจะนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์[เทคโนโลยียาง]
ก๊าซไม่มีสี มีกลิ่นฉุนแสบจมูก ละลายน้ำได้สารละลายมีฤทธิ์เป็นด่าง ใช้เป็นสารรักษาสภาพของน้ำยาง[เทคโนโลยียาง]
สารเคมีที่เติมลงในน้ำยางเพื่อหน่วงปฏิกิริยาจากแบคทีเรียที่ทำให้ อนุภาคยางที่แขวนลอยอยู่ในตัวกลางมารวมตัวกันเป็นก้อนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้น้ำยางเสียสภาพ ตัวอย่างสารต้านการจับตัว เช่น แอมโมเนีย[เทคโนโลยียาง]
สารเคมีที่เติมลงในน้ำยางเพื่อป้องกันการเกิดฟองในน้ำยางคอมพาวด์ ซึ่งเป็นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการพองหรือเกิดรูเข็มในผลิตภัณฑ์ได้[เทคโนโลยียาง]
สารเคมีที่เติมลงไปในตัวกลางที่มีอนุภาคขนาดเล็กแขวนลอยอยู่ ทำให้อนุภาคเหล่านั้นรวมตัวกันเป็นก้อนใหญ่และตกตะกอน เช่น การเติมกรดซัลฟุริก (H2SO4) กรดฟอร์มิก (HCOOH) หรือ กรดแอซิติก (CH3COOH) ลงในน้ำยาง ทำให้น้ำยางจับตัว[เทคโนโลยียาง]
ปริมาณยางจับเป็นก้อน หมายถึง ปริมาณของสารที่ตกค้างอยู่บนตัวกรองสเตนเลสที่ทดสอบ สารเหล่านี้ประกอบด้วยเศษยางจับตัวและสารอื่นที่เจือปนมากับน้ำยาง ค่านี้มีความสำคัญต่อกระบวนการผลิตที่เข้มงวด เช่น ในการผลิตเส้นด้ายยางยืด ถ้าน้ำยางมีค่า coagulum content สูงอาจก่อให้เกิดปัญหาการอุดตันที่ปลายหลอดในระหว่างกระบวนการผลิตได้[เทคโนโลยียาง]
น้ำยางข้น คือ น้ำยางสดที่ทำให้เข้มข้นโดยการหมุนเหวี่ยงหรือการแยกครีม เพื่อแยกส่วนที่เป็นเนื้อยางออกจากเซรุ่ม และเพิ่มปริมาณเนื้อยางแห้งจาก 30% เป็น 60% สำหรับวิธีการหมุนเหวี่ยง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในประเทศไทย และเพิ่มปริมาณเนื้อยางแห้งจาก 30% เป็น 64% สำหรับวิธีการแยกครีม เนื่องจากน้ำยางสดมีปริมาณน้ำมากเกินไปไม่เหมาะที่จะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการขนส่ง[เทคโนโลยียาง]
ยางธรรมชาติที่มีการเติมสารเคมี เช่น hydroxylamine ลงไปในน้ำยางก่อนที่จะเติมกรดเพื่อทำให้ยางจับตัว สารดังกล่าวจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับหมู่อัลดีไฮด์ ป้องกันไม่ให้เกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของยางดิบที่เก็บไว้ก่อนนำมา ใช้แปรรูป ทำให้ค่าความหนืดคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาการเก็บรักษา[เทคโนโลยียาง]
ปริมาณของธาตุทองแดงที่อยู่ในส่วนที่ไม่ใช่ยางในน้ำยาง มีผลต่อความทนทานต่อการเสื่อมสภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำยางนั้น เนื่องจากทองแดงเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาออกซิเดชันในโมเลกุลของยาง[เทคโนโลยียาง]
ยางเครพเป็นยางที่ผลิตขึ้นจากน้ำยางธรรมชาติ หรือยางซึ่งจับตัวเป็นก้อน เช่น ยางก้นถ้วย ยางติดเปลือกไม้ เป็นต้น นำไปรีดในเครื่องเครพ (creping machine) พร้อมทั้งใช้น้ำทำความสะอาดเอาสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากยางระหว่างการรีด นำยางแผ่นที่ได้ไปผึ่งลมให้แห้ง ยางเครพที่ผลิตจากน้ำยางเป็นยางเครพที่มีคุณภาพดี ได้แก่ ยางเครพขาว (white crepe) หรือยางเครพสีจาง (pale crepe) เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางสี ได้แก่ ยางกระเป๋าน้ำร้อน ยางรัดของ เป็นต้น ส่วนยางเครพที่ผลิตจากก้อนยางจับตัว เป็นยางเครพที่มีคุณภาพต่ำ ได้แก่ ยางเครพสีน้ำตาล (brown crepe) ยางเครฟแฟลตบาร์ก (flat bark crepe) และยางเครฟแบลงเค็ต (blanket crepe) เป็นต้น ซึ่งยางเครฟเหล่านี้มีสีค่อนข้างเข้มและมีความบริสุทธิ์แตกต่างกันมากขึ้น อยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต เหมาะสำหรับทำผลิตภัณฑ์ยางที่ไม่คำนึงถึงสี ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนักและราคาต้นทุนต่ำ ได้แก่ ยางปูพื้น ยางกันโคลน เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางไซไคลส์เป็นยางธรรมชาติที่ปรับสภาพโครงสร้างโมเลกุลยางให้มีสัดส่วน ของพันธะที่ไม่อิ่มตัวในโมเลกุลยางลดลง โดยการทำให้โมเลกุลของยางธรรมชาติเกิดการเชื่อมโยงกันเอง เป็นแบบวงแหวน (cyclize) ทำให้สมบัติของยางเปลี่ยนไป มีความแข็งแรงมากกว่าปกติ สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง[เทคโนโลยียาง]
ยางธรรมชาติที่เตรียมโดยการกำจัดโปรตีนที่มีอยู่ในยางธรรมชาติออกไป สามารถทำได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง วิธีที่นิยมใช้ในการกำจัดโปรตีน คือ การย่อยสลายโปรตีนด้วยเอนไซม์ (proteolytic enzymes) เช่น เอนไซม์ปาเปอิน (papain) หรืออาจใช้ด่าง (alkaline hydrolysis) หรือใช้น้ำร้อนในการกำจัดโปรตีน[เทคโนโลยียาง]
1.ดิสเพอร์ชันหรือการแตกตัวเป็นขั้นตอนหนึ่งของกลไกการผสมสารตัวเติม เข้าไปในยางแห้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นจากแรงเฉือนในการผสมที่ทำให้แอกโกลเมอเรตของอนุภาคสารตัวเติม แตกตัวต่อไปจนได้เป็นแอกกรีเกตซึ่งเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสารตัวเติมที่ได้ จากการผสม ขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการกระจายตัว เพื่อให้ได้สารตัวเติมที่มีการแตกตัวดีและการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอในยาง 2.สารเคมีที่กระจายตัวอยู่ในน้ำยาง[เทคโนโลยียาง]
ปริมาณส่วนที่เป็นเนื้อยางทั้งหมดในน้ำยาง ซึ่งได้จากการทำให้น้ำยางจับตัวด้วยกรดแอซิติก ภายใต้การควบคุมสภาพการจับตัวอย่างแน่นอน เป็นค่าบ่งชี้ปริมาณของเนื้อยางจริงๆ ซึ่งมีความสำคัญในการซื้อขาย การนำน้ำยางไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยาง เช่น การออกสูตรส่วนผสมของสารเคมีต่างๆ[เทคโนโลยียาง]
ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์เป็นยางที่ได้จากการเติมออกซิเจนเข้าไปใน โมเลกุลของยางตรงบริเวณพันธะคู่เกิดเป็นวงแหวนอิพ็อกไซด์โดยผ่านปฏิกิริยาอิ พ็อกซิเดชัน (Epoxidation) โดยมีระดับของการเกิดอิพ็อกซิเดชันตั้งแต่ร้อยละ 10-50 ยาง ENR ที่ได้จึงมีความเป็นขั้วสูงกว่ายางธรรมชาติทั่วไป ทำให้ทนต่อความร้อนและน้ำมันได้ดีขึ้น โดยยาง ENR เกรดที่มีระดับอิพ็อกซิเดชันสูงถึงร้อยละ 50 จะมีความเป็นขั้วสูงเทียบเท่ากับยาง NBR ที่มีปริมาณอะไครโลไนไทรล์ปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่ายาง ENR ที่เสริมแรงด้วยซิลิกาจะมีสมบัติคล้ายกับยางธรรมชาติที่เสริมแรงด้วยเขม่าดำ อีกด้วย การเตรียมยาง ENR นี้สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง[เทคโนโลยียาง]
น้ำยางธรรมชาติที่ได้จากต้นยางพารา มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนม มีสภาพเป็นคอลลอยด์หรือสารแขวนลอย มีความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 0.975-0.980 กรัมต่อมิลลิลิตร มีค่า pH ประมาณ 6.5-7.0 ความหนืดของน้ำยางมีค่าประมาณ 12-15 เซนติพอยส์ โดยที่จะเติมหรือไม่เติมสารรักษาสภาพ (preservative) ก็ได้ ขึ้นกับระยะเก็บก่อนที่จะนำไปทำให้เข้มข้น หรือไปผ่านกระบวนการอื่นๆ ต่อไป[เทคโนโลยียาง]
สารตัวเติมเป็นวัสดุที่อยู่ในรูปของแข็ง มีขนาดอนุภาคเล็ก ซึ่งอาจจะเติมลงไปในยางหรือน้ำยางได้ในปริมาณมากเพื่อปรับปรุงสมบัติต่างๆ หรือเพื่อลดต้นทุนการผลิต[เทคโนโลยียาง]
ยางธรรมชาติสายพันธ์หนึ่งที่ได้จากต้นวายูเล่ (Parthenium argentatum) ซึ่งเป็นต้นไม้พื้นเมืองในแถบเม็กซิโกและทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐเทกซัส มีลักษณะโครงสร้างทางเคมีเหมือนยางพาราเป็น ซิส-1, 4-พอลิไอโซพรีน (cis-1, 4-polyisoprene) แต่มีส่วนประกอบในน้ำยางต่างจากยางพารา เช่น มีส่วนของเนื้อยางแห้งน้อยกว่า (ประมาณ 10%) ปริมาณโปรตีน กรดอะมิโน และพอลิเพปไทด์น้อยกว่า สามารถนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ฯลฯ ได้เหมือนกับผลิตภัณฑ์ยางที่ได้จากยางพารา[เทคโนโลยียาง]
น้ำยางข้นที่ได้จากการหมุนเหวี่ยง ซึ่งรักษาสภาพน้ำยางข้นให้เก็บไว้ได้นานด้วยสารละลายแอมโมเนียแต่เพียงอย่าง เดียว และมีค่าความเป็นด่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.60 โดยน้ำหนักน้ำยางข้น[เทคโนโลยียาง]
1.น้ำยาง : ของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนมได้จากพืชบางชนิด เช่น ต้นยางพารา และต้นรัก เป็นต้น 2.เลเทกซ์ : พอลิเมอร์ที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 1 ไมโครเมตร กระจายตัวอยู่ในน้ำด้วยสภาวะเสถียรด้วยประจุ มีลักษณะขุ่นขาวคล้ายน้ำนม เช่น อิมัลชันของโคพอลิเมอร์สไตรีน-อะคริลิก[เทคโนโลยียาง]
ยางธรรมชาติเหลวได้จากการนำยางธรรมชาติมาทำให้โมเลกุลของยางเกิดการ สลายตัวตรงตำแหน่งพันธะคู่หรือเป็นกระบวนการตัดสายโซ่โมเลกุลของพอลิไอโซพรี นที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงให้มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำลง จนกระทั่งยางมีความหนืดต่ำ สามารถไหลได้ที่อุณหภูมิห้องหรือที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง[เทคโนโลยียาง]
น้ำยางข้นทีได้จากการหมุนเหวี่ยง ซึ่งรักษาสภาพด้วยแอมโมเนียร่วมกับสารรักษาสภาพน้ำยางข้นชนิดอื่น เช่น ZnO/TMTD (ยาขาว) และมีค่าความเป็นด่างไม่เกินร้อยละ 0.29 โดยน้ำหนักน้ำยางข้น[เทคโนโลยียาง]
ปริมาณของธาตุแมงกานีสในน้ำยางธรรมชาติ มีผลต่อความทนทานต่อการเสื่อมสภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำยาง เนื่องจากแมงกานีสเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาออกซิเดชันในโมเลกุลของยาง ทำให้ยางเสื่อมสภาพได้[เทคโนโลยียาง]
ความเสถียรเชิงกลของน้ำยาง หมายถึง ความเสถียรของน้ำยางต่ออิทธิพลทางกล เช่น การกวน การปั๊ม การเคลื่อนย้าย หรือการกระทำทางกลโดยวิธีอื่นๆ สามารถทำได้โดยวัดระยะเวลาที่เริ่มปั่นกวนน้ำยางจนกระทั่งสังเกตเห็นน้ำยาง เริ่มจับตัวเป็นเม็ดเล็กๆ ในหน่วยของวินาที ค่า MST สูงจะบ่งชี้ว่า น้ำยางมีความเสถียรต่ออิทธิพลทางกลได้สูง แต่ถ้าค่า MST ต่ำแสดงว่าน้ำยางนั้นจะสูญเสียความเสถียร สามารถจะจับเป็นเม็ดได้ง่าย เมื่อน้ำยางถูกกระทบกับอิทธิพลทางกล[เทคโนโลยียาง]
น้ำยางธรรมชาติได้มาจากต้นยาง Hevea brasiliensis มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนม ประกอบด้วยส่วนที่เป็นอนุภาคยาง 35% ส่วนที่ไม่ใช่ยาง 5% เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เป็นต้น ที่เหลือเป็นน้ำประมาณ 60% โครงสร้างโมเลกุลมีลักษณะเป็น ซิส-1, 4-พอลิไอโซพรีน (cis-1, 4-polyisoprene) สามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำยางธรรมชาติ เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย สายยางยืด เป็นต้น หรือนำไปแปรรูปเป็นยางแห้งเพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางแห้ง[เทคโนโลยียาง]
ปริมาณของแข็งที่ไม่ใช่ยาง หมายถึง ปริมาณของแข็งอื่นๆ ที่ไม่ใช่เนื้อยางที่มีอยู่ในน้ำยาง เช่น แมกนีเซียม ทองแดง คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เป็นต้น สามารถหาได้จากการนำเอาค่า DRC ไปหักออกจากค่า TSC ก็จะได้ค่า NRC ถ้าน้ำยางข้นชุดใดมีค่า NRC สูง ก็บ่งชี้ว่า น้ำยางชุดนั้นมีสารที่ไม่ใช่เนื้อยางมาก ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความเสถียรของน้ำยาง[เทคโนโลยียาง]
จำนวนโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ หมายถึง จำนวนกรัมของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ที่สมมูลย์พอดีกับอนุมูลของกรดทั้งหมดที่ รวมกับแอมโมเนียในน้ำยาง ที่มีปริมาณของแข็งทั้งหมด 100 กรัม นั่นคือ จำนวนโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์เป็นตัวระบุปริมาณของสบู่แอมโมเนียมที่เกิดขึ้น ระหว่างการเปลี่ยนแปลงในน้ำยาง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของแบคทีเรียต่อสารที่ไม่ใช่เนื้อยาง ในขณะก่อนการใส่แอมโมเนียลงในน้ำยาง และเกิดขึ้นจากการไฮโดรไลซิสของโปรตีนในระหว่างการเก็บน้ำยาง ค่า KOH ที่สูงแสดงถึง ความเปลี่ยนแปลงมากและอาจบ่งชี้ว่าน้ำยางข้นมีอายุหลังการผลิตนานอีกด้วย[เทคโนโลยียาง]
ยางผงเป็นยางธรรมชาติที่ผลิตขึ้นให้อยู่ในรูปผง สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง จุดประสงค์เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้ในกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง[เทคโนโลยียาง]
ยางแผ่นรมควันผลิตโดยเติมกรดลงในน้ำยางข้นเพื่อให้ยางจับตัวกัน และแยกตัวออกจากน้ำ นำยางที่ได้ไปรีดเป็นแผ่นด้วยเครื่องรีดแบบ 2 ลูกกลิ้ง นำไปล้างน้ำ แล้วนำทำให้แห้ง โดยวิธีการรมควันที่อุณหภูมิประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 2-3 วัน เพื่อป้องกันเชื้อรา การจัดชั้นของยางแผ่นรมควันทำโดยการใช้สายตา (ตามปริมาณสิ่งสกปรกปนเปื้อนในยาง) แบ่งได้เป็น 5 ชั้น ตั้งแต่ชั้นที่1 ถึงชั้นที่ 5 (ชั้นที่ 1 เป็นเกรดที่ดีที่สุด)[เทคโนโลยียาง]
หางน้ำยางเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำยางข้นที่ยังมีปริมาณเนื้อยางอยู่ ประมาณร้อยละ 3 - 5 โดยน้ำหนัก สามารถนำไปแปรรูปเป็นยางดิบแห้งชนิดสกิมบล็อก (skim block) หรือ สกิมเครพ (skim crepe)[เทคโนโลยียาง]
ปริมาณสลัดจ์หรือปริมาณตม หมายถึง สิ่งเจือปนที่ไม่ใช่ยางซึ่งจะตกตะกอนลงก้นภาชนะเมื่อมีการปั่นหรือกวนน้ำยาง สิ่งเจือปนเหล่านี้ประกอบด้วย ฝุ่นละออง ดิน ทราย เปลือกไม้ และแมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟต ถ้าปริมาณสลัดจ์มีค่าสูง อาจเกิดการสะสมของปริมาณตมอย่างรวดเร็วระหว่างกระบวนการผลิต ทำให้น้ำยางเสียสภาพและไม่สามารถใช้งานต่อไปได้[เทคโนโลยียาง]
1. (ยาง) สเตบิไลเซอร์ คือ สารที่มีอยู่หรือเติมลงไปในยางดิบ เพื่อรักษาสมบัติให้ดีเท่าหรือใกล้เคียงค่าเดิมระหว่างการทำให้แห้ง กระบวนการผลิตและการเก็บรักษา 2.(น้ำยาง)สเตบิไลเซอร์ คือ สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเติมลงไปในน้ำยางเพื่อป้องกันการรวมตัวหรือ จับตัวเป็นก้อนของอนุภาคยางระหว่างกระบวนการผลิตและ/หรือการผสมสารเคมี[เทคโนโลยียาง]
ปริมาณของแข็งทั้งหมดในน้ำยาง หมายถึง ปริมาณยางส่วนที่เป็นเนื้อยางทั้งหมดในน้ำยาง รวมกับสารอื่นๆ ที่เป็นของแข็งและไม่ใช่ยาง ซึ่งจะคงเหลือภายหลังจากการทำให้แห้งด้วยอุณหภูมิทดสอบและบรรยากาศที่กำหนด[เทคโนโลยียาง]
จำนวนกรดไขมันระเหย หมายถึง ปริมาณของกรดไขมันระเหยที่เกิดขึ้นโดยการไฮโดรไลซิสของคาร์โบไฮเดรตในเซรุ่ม ของน้ำยาง กรดเหล่านี้ประกอบด้วยกรดแอซิติก กรดฟอร์มิก และกรดพรอพิโอนิก เป็นส่วนใหญ่ หรือหมายถึง จำนวนกรัมของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ที่ทำให้กรดไขมันระเหยทั้งหมดในน้ำยางที่ มีปริมาณของแข็งทั้งหมด 100 กรัม เป็นกลาง ค่า VFA No. เป็นค่าที่บ่งชี้ถึงสถานะการเสียสภาพ ถ้าค่า VFA No. สูง แสดงว่าน้ำยางถูกเชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายมาก เกิดกรดไขมันระเหยมาก ทำให้สูญเสียสภาพการเป็นคอลลอยด์ เกิดการบูดเน่าและจับเป็นก้อนได้[เทคโนโลยียาง]
การจับตัว, การทำให้สารบางชนิดที่ละลายในน้ำจับตัวกันหรือตกตะกอนแยกออกจากสารละลาย ทำโดยใช้ความร้อนหรือเติมกรดหรือเบสลงไป เช่น การใส่กรดลงไปในน้ำยางเพื่อให้ยางจับตัวแยกจากน้ำ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
น้ำยาง, ของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนม พบในพืชบางชนิด เช่น ต้นยางพารา ต้นรัก เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ท่อน้ำยาง, ท่อลำเลียงน้ำยางอยู่ตรงบริเวณเปลือกของพืชที่มีน้ำยาง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ยางแผ่น, แผ่นยางที่ได้จากการผสมน้ำยางกับกรดแอซีติกหรือกรดฟอร์มิกอย่างอ่อนให้ยางสดจับตัวเป็นก้อน แล้วนำมารีดเป็นแผ่นบาง ๆ ด้วยลูกกลิ้ง หลังจากนั้นก็นำไปรมควันและผึ่งให้แห้งประมาณ 7-11 วัน แผ่นยางจะกลายเป็นสีน้ำตาลและพร้อมที่จะส่งไปสู่ผู้ผลิตสินค้ายางต่อไป[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
การกรีดยาง, การกรีดผิวของต้นยางพาราเป็นแนวทแยงลงจากซ้ายมาขวา เพื่อให้น้ำยางซึมออกมาค่อย ๆ ไหลลงสู่ภาชนะรองรับ การกรีดยางมักทำตอนเช้าตรู่ เพราะมีน้ำยางไหลออกมามากกว่าตอนสาย[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
น้ำยาง, ลาเทก, เม็ดลาเทก[การแพทย์]