น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด ว่า มาตรากนหรือแม่กน.
ก. ตั้งหน้า, มุ่ง, เช่น อยู่เย็นยงงก่นเกอดพิจลการ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
น. ชื่อกระรอกชนิด Menetes berdmorei (Blyth) ในวงศ์ Sciuridae ขนสีนํ้าตาล มีลายสีดำและนํ้าตาลอ่อนตามยาวข้าง ๆ ตัว หางเป็นพวง มักวิ่งหากินตามพื้นดิน, จ้อน ก็เรียก.
น. เครื่องกรอง โดยปรกติสานด้วยผิวไม้ไผ่ ใช้กรองกะทิเป็นต้น.
น. ไม้ซุงที่เลื่อยออกเป็นแผ่น ๆ
ลักษณนามเรียกการแข่งขันที่เดินบนตากระดานซึ่งถึงที่สุดแล้ว เช่น เล่นหมากรุกชนะ ๒ กระดาน
กระดานดำ เช่น ครูเขียนการบ้านไว้บนกระดาน
โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะอย่างกระดาน.
น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Sandoricumkoetjape (Burm. f.) Merr. ในวงศ์ Meliaceae ผลค่อนข้างกลม เปลือกนุ่ม สีเหลือง เนื้อกินได้, สะท้อน ก็เรียก, พายัพเรียก มะต้อง หรือ มะตื๋น.
น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum testaceum Ridl. ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลค่อนข้างกลม สีนวล มี ๓ พู มีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหารและทำยา.
ชื่อเรียกใบของไม้ต้นชนิด Laurus nobilis L. ในวงศ์ Lauraceae กลิ่นคล้ายกระวาน ใช้เป็นเครื่องเทศและแต่งกลิ่นยา.
น. ห่วงที่เกี่ยวกันสำหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียน หรือเหล็กผ่าปากม้า, ประวิน ก็ใช้.
ก. ตระเวน, ตะเวน หรือ ทะเวน ก็ว่า.
(กฺรัน) ว. เล็ก, แคระ, เช่น กรวดกรันขราราย (สุธน).
(กฺราน) น. ไฟ เช่น เชิงกราน, ธุมาก็ปรากฏแก่กราน (กฤษณา).
(กฺลอน) น. ไม้ขัดประตูหน้าต่าง, ดาล, เครื่องสลักประตูหน้าต่าง
ไม้ที่พาดบนแปสำหรับวางเครื่องมุงหลังคาจากเป็นต้น.
(กฺลิ่น) น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก คือ เหม็น หอม และอื่น ๆ, บางทีใช้หมายความว่า เหม็น เช่น แกงหม้อนี้เริ่มมีกลิ่น, โดยปริยายหมายความว่า ลักษณะไม่น่าไว้วางใจ เช่น เรื่องนี้ชักมีกลิ่น การประมูลครั้งนี้เริ่มส่งกลิ่น.
ก. รบกวนทำให้เกิดความรำคาญ เช่น กวนใจ, ก่อกวนทำให้วุ่นวาย เช่น กวนบ้านกวนเมือง, ชวนให้เกิดความรำคาญ ชวนให้ทำร้าย เช่น กวนมือ กวนตีน.
(กฺว้าน) น. ตึกแถวชั้นเดียว ส่วนใหญ่เป็นร้านค้า, มักใช้เข้าคู่กับคำ ตึก เป็น ตึกกว้าน เช่น เรือนริมรัถยาฝากระดาน ตึกกว้านบ้านขุนนางนองเนือง (อิเหนา).
น. ชื่อมะม่วงชนิด Mangifera caloneura Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ผลเล็ก เนื้อไม่มีเสี้ยน เมื่อสุกมีกลิ่นหอมแรง, ขี้ไต้ ก็เรียก.
ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อยในทำนองกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑, เช่น กันจะไปรอที่สถานีรถไฟ.
น. ส่วนที่ต่อดอก หรือใบ หรือผล กับกิ่งไม้, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้านตุ้มหู ก้านไม้ขีด
กระดูกกลางแห่งใบไม้บางอย่าง เช่น มะพร้าว จาก.
น. ภาพล้อ, ภาพตลก, บางทีเขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจล้อเลียนจะให้ดูรู้สึกขบขัน, หนังสือเล่าเรื่องด้วยภาพเขียน ซึ่งแบ่งหน้ากระดาษเป็นช่อง ๆ มีคำบรรยายสั้น ๆ อ่านง่าย เนื้อเรื่องมักเป็นนิทานหรือนวนิยาย.
น. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง หัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า กำปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มี มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอนํ้า เรียกว่า กำปั่นไฟ.
น. วัตถุหอมชนิดหนึ่ง เกิดจากยางใสกลิ่นหอมที่ออกจากเปลือกของต้นกำยานบางชนิด เกิดขึ้นได้เนื่องจากเปลือกถูกกรีดหรือมีราลง ก็จะขับยางใสกลิ่นหอมออกมา เมื่อแห้งจะแข็งติดอยู่กับลำต้น แกะออกมาได้.
น. ชื่ออาหารประเภทกับแกล้ม ใช้กุ้งแม่น้ำที่ยังสด ผ่าหลัง ราดด้วยน้ำมะนาว กินกับน้ำจิ้ม, ชื่ออาหารประเภทกับแกล้ม ใช้กุ้งฝอยเป็น ๆ บีบมะนาว ปรุงด้วยพริกตำและน้ำปลา.
(เกฺริ่น) ก. บอกข่าวให้รู้ล่วงหน้า เช่น เกริ่นข่าว, อาการที่ฝ่ายชายร้องนำในเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพื่อเชื้อเชิญฝ่ายหญิงให้ร้องตอบ
ร้องหา, เรียกหา, เช่น นกเขาขันเกริ่น ผีกู่เกริ่น.
(เกฺรียน) ว. สั้นเกือบติดหนังหัว ผิวหนัง หรือพื้นที่ เช่น ผมเกรียน หมาขนเกรียน หญ้าเกรียน.
(เกฺลื่อน) ว. เรี่ยรายหรือกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ลอยเกลื่อน หล่นเกลื่อน.
น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา.
(ขะหฺนอน) น. สถานที่ซึ่งตั้งอยู่ในเส้นทางเข้าออกเมืองหรือเขตแดน เพื่อตรวจคนเข้าออก ผู้ลักลอบผ่านด่าน สิ่งของหรือสินค้าต้องห้าม และเรียกเก็บภาษีอากรสินค้า, ที่คอยเหตุและคนแปลกปลอม.
(ขะหฺนัน) น. ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง, คู่กับ ขนุน.
ลักษณนามเรียกยาที่ปรุงขึ้น เช่น ยาขนานหนึ่ง ยา ๒ ขนาน.
(ขะหฺนุน) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือสีจำปา รสหวาน กินได้ พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจำปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด.
(ขะมิ่น) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma longa L. ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง ใช้ปรุงอาหาร ทำยา ทำผงทาตัว และใช้ย้อมผ้า, ขมิ้นชัน ก็เรียก, อีสานและปักษ์ใต้เรียก ขี้มิ่น.
(ขะหฺยัน) ก. ทำการงานอย่างแข็งขันไม่ปล่อยปละละเลย, ทำหรือประพฤติเป็นปรกติสมํ่าเสมอ, ไม่เกียจคร้าน
แข็งแรง, เข้าที, เช่น เนื้อหนังขยันมั่นคงนัก (อิเหนา), พอกํ้ากึ่งกลางนั้นขยันนัก (เพลงยาวถวายโอวาท).
น. เรียกผู้ตกใจง่าย คือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน.
(ขฺวาน) น. เครื่องมือสำหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทำด้วยเหล็กมีสันหนาใหญ่, ถ้าบ้องที่หัวบิดได้ สำหรับตัดและถาก เรียกว่า ขวานโยน ขวานปูลู หรือ ขวานปุลู, ถ้าด้ามสั้น สันหนา มีบ้องยาวตามสัน เป็นเครื่องมือของช่างไม้ ใช้ตัด ถาก ฟัน เรียกว่า ขวานหมู, ถ้าด้ามยาว ใบขวานใหญ่ เรียกว่า ขวานผ่าฟืน
หมอนที่ทำหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายขวาน ใช้อิง เรียกว่า หมอนขวาน.