ads-m
5 ผลลัพธ์ สำหรับ 

*ธาตุ ๔*

 ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น: ธาตุ ๔, -ธาตุ ๔-
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
(ทาตุ-, ทาด) น. รากศัพท์ของคำบาลีสันสกฤตเป็นต้น เช่น ธาตุ มาจาก ธา ธาตุ ในความว่า ทรงไว้ สาวก มาจาก สุ ธาตุ ในความว่า ฟัง กริยา มาจาก กฤ ธาตุ ในความว่า กระทำ.
(กะสิน) น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งที่กำหนดอารมณ์โดยอาศัยธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (นํ้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), วรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียวคราม) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), อากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง โดยเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งในการกำหนดอารมณ์ให้เหมาะกับจริตของผู้ที่จะเจริญกรรมฐาน.
น. ชื่อธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, วัตถุธาตุของพื้นโลกที่ใช้สำหรับปลูกพืชผลหรือปั้นสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น
น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าส้ม
น. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่าโลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเราเกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุขเสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นอุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก.
เพิ่มคำศัพท์
add
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ