อนุภาคแอลฟา, อนุภาคที่มีประจุบวก ประกอบด้วย<em>โปรตอน</em> 2 อนุภาค และ<em>นิวตรอน</em> 2 อนุภาค ซึ่งเหมือนกับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ ผ่านอากาศได้เพียง 2-3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้ อนุภาคแอลฟาเกิดจาก<em>การสลาย</em>ของสารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น ยูเรเนียม และทอเรียม[นิวเคลียร์]
แบล็งเคต, ชั้นวัสดุเฟอร์ไทล์ เช่น ยูเรเนียม-238 หรือทอเรียม-232 ที่อยู่ล้อมรอบแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ซึ่งเป็นวัสดุเกิดฟิชชันได้[นิวเคลียร์]
ดิวเทอรอน, นิวเคลียสของดิวเทอเรียม[นิวเคลียร์]
ทอเรียม, ธาตุกัมมันตรังสีที่มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 90 มีน้ำหนักเชิงอะตอมประมาณ 232 ไอโซโทปที่มีอยู่ในธรรมชาติ คือ ทอเรียม-232 แปรธาตุเป็นยูเรเนียม-233 ได้ด้วยการอาบนิวตรอน (ดู fertile material, fissile material, transmutation ประกอบ)[นิวเคลียร์]
อนุกรมทอเรียม, อนุกรมกัมมันตรังสีของนิวไคลด์ที่เริ่มต้นจากทอเรียม-232 และได้ผลผลิตสุดท้ายเป็น ตะกั่ว-208 นิวไคลด์ที่มนุษย์ผลิตได้หลายชนิดจะสลายตามแบบอนุกรมนี้เช่นกัน (ดู radioactive decay และ radioactive series ประกอบ)[นิวเคลียร์]
รังสีจากพื้นโลก, รังสีจากสารกัมมันตรังสีที่มีอยู่บนพื้นโลก เป็นรังสีที่มนุษย์ได้รับจากภายนอกร่างกายปีละประมาณ 410 ไมโครซีเวิร์ต ส่วนที่มีผลเป็นปริมาณรังสีต่อมนุษย์คือรังสีแกมมา ซึ่งปลดปล่อยมาจากนิวไคลด์รังสีที่มีกำเนิดมาพร้อมกับโลก (ดู Primordial radionuclides) ได้แก่ สารกัมมันตรังสีในอนุกรมยูเรเนียม อนุกรมทอเรียม และสารกัมมันตรังสีโพแทสเซียม (K-40)[นิวเคลียร์]
วัสดุต้นกำลัง, วัสดุใด ๆ ที่มียูเรเนียม ทอเรียม หรือทั้งสองอย่างรวมกัน เป็นองค์ประกอบ ร้อยละ 0.05 ขึ้นไป ยกเว้นวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ, Example: [นิวเคลียร์]
เรเดียม, ธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นโลหะ มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 88 ไอโซโทปที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ คือ เรเดียม- 226 เกิดปนอยู่เล็กน้อยในสินแร่ยูเรเนียม เช่น แร่พิตช์เบลนด์ และคาร์โนไทต์ เรเดียม-226 เกิดจากการสลายของทอเรียม-230 ในอนุกรมยูเรเนียม (ดู decay, radioactive และ uranium series ประกอบ)[นิวเคลียร์]
นิวไคลด์กัมมันตรังสีเกิดพร้อมโลก, นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่มีกำเนิดมาพร้อมกับโลก ประกอบด้วยนิวไคลด์ในอนุกรม ยูเรเนียม ทอเรียม และแอกทิเนียม รวมทั้งนิวไคลด์กัมมันตรังสีอื่นๆ ที่มีในธรรมชาติ เช่น โพแทสเซียม-40 (K-40) รูบิเดียม-87 (Rb-87) มนุษย์ได้รับรังสีจากนิวไคลด์กัมมันตรังสีกลุ่มนี้ตลอดเวลา ทั้งจากภายนอกและภายในร่างกาย (ดู radioactive series ประกอบ)[นิวเคลียร์]
วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, การปฏิบัติการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เริ่มตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือทอเรียม ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้มีความบริสุทธิ์ และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม การประกอบชุดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว การวิจัยและพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมถึงการเลิกดำเนินงานด้วย[นิวเคลียร์]
นิวไคลด์กัมมันตรังสีตามธรรมชาติ, นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนพื้นโลกในปริมาณที่มีนัยสำคัญ (significant quantities) โดยทั่วไปหมายถึงนิวไคลด์กัมมันตรังสีเกิดพร้อมโลก ซึ่งได้แก่ โพแทสเซียม-40 ยูเรเนียม-235 ยูเรเนียม-238 ทอเรียม-232 และผลผลิตการสลายกัมมันตรังสีของนิวไคลด์ดังกล่าว นอกจากนี้ยังรวมถึงทริเทียมและคาร์บอน-14 ซึ่งเกิดจากกระบวนการเชิงก่อกัมมันตภาพรังสีตามธรรมชาติด้วย, Example: [นิวเคลียร์]
ไฮโดรเจน, ธาตุที่เบาที่สุดและเป็นธาตุลำดับที่ 1 ในตารางพีริออดิก ประกอบด้วยไอโซโทป 3 ชนิด โดย 2 ชนิด พบในธรรมชาติ ได้แก่ ไฮโดรเจนหรือไฮโดรเจนมวลเบาซึ่งมีเลขมวลเท่ากับ 1 และดิวเทอเรียมหรือไฮโดรเจนมวลหนักซึ่งมีเลขมวลเท่ากับ 2 ส่วนชนิดที่ 3 ได้แก่ ทริเทียม มีเลขมวลเท่ากับ 3 เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีที่มนุษย์ผลิตขึ้น[นิวเคลียร์]
ไฮโดรเจนมวลหนัก, ไอโซโทปของไฮโดรเจนที่มีเลขมวลเท่ากับ 2 นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอน 1 อนุภาคและนิวตรอน 1 อนุภาค มีชื่อเฉพาะเรียกว่า ดิวเทอเรียม <br>(ดู deuterium, <sup>2</sup>H, D ประกอบ)</br>, Example: [นิวเคลียร์]
ดิวเทอเรียม ไอโซโทปของไฮโดรเจน, นิวเคลียยสประกอบด้วยโปรตรอน และ นิวตรอน อย่างละ 1 อนุภาคมีมวลเป็นสองเท่าของไฮโดรเจน[นิวเคลียร์]
วัสดุเฟอร์ไทล์, วัสดุซึ่งสามารถแปลงให้เป็นวัสดุฟิสไซล์ได้ โดยการก่อกัมมันตภาพรังสีด้วยนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ วัสดุเฟอร์ไทล์ ได้แก่ ยูเรเนียม-238 และทอเรียม-232 ซึ่งเมื่อจับยึดนิวตรอนแล้วจะเปลี่ยนเป็นวัสดุฟิสไซล์ คือ พลูโทเนียม-239 และยูเรเนียม-233 ตามลำดับ[นิวเคลียร์]
วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, การปฏิบัติการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เริ่มตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือทอเรียม ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้มีความบริสุทธิ์ และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม การประกอบชุดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว การวิจัยและพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมถึงการเลิกดำเนินงานด้วย[นิวเคลียร์]
ฟิวชัน, การหลอมนิวเคลียส, ปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียสของธาตุเบาสองนิวเคลียส เป็นนิวเคลียสที่หนักกว่าพร้อมปลดปล่อยพลังงานออกมา เช่น การหลอมนิวเคลียสของดิวเทอเรียมกับทริเทียมเป็นฮีเลียม, Example: [นิวเคลียร์]
สินแร่ทอเรียม[TU Subject Heading]
ฟิวชัน, การหลอมนิวเคลียส, ปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียสของธาตุเบาสองนิวเคลียส เป็นนิวเคลียสที่หนักกว่าพร้อมปลดปล่อยพลังงานออกมา เช่น การหลอมนิวเคลียสของดิวเทอเรียมกับทริเทียมเป็นฮีเลียม[นิวเคลียร์]
วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, การปฏิบัติการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เริ่มตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือทอเรียม ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้มีความบริสุทธิ์ และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม การประกอบชุดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว การวิจัยและพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมถึงการเลิกดำเนินงานด้วย[นิวเคลียร์]
ซิสติเซอร์โคซิสที่อยู่ใต้เทนทอเรียม[การแพทย์]
ดอยทีเรียม, ดิวเทอเรียม, ดิวทีเรียม[การแพทย์]
ดิวเทอเรียม, ไอโซโทปหนึ่งของธาตุไฮโดรเจน มีเลขอะตอม 1 เลขมวล 2 มีอยู่ในธรรมชาติประมาณร้อยละ 0.02 ของธาตุไฮโดรเจนทั้งหมด เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าไฮโดรเจนหนักใช้สัญลักษณ์ หรือ D[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ทอเรียม, ธาตุแทรนซิชัน มีเลขอะตอม 90 สัญลักษณ์ Th เป็นโลหะจุดหลอมเหลว 3, 050 °C จุดเดือดประมาณ 4, 440 °C ในธรรมชาติมีปนอยู่ในแร่หลายชนิด เช่น ทอไรต์ ทอเรียไนต์ และโมนาไซต์[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไฮโดรเจน, ธาตุชนิดหนึ่ง เลขอะตอม 1 สัญลักษณ์คือ H เป็นแก๊สที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด ติดไฟได้ดี จุดหลอมเหลว -259.14oC จุดเดือด -252.7oC ไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป คือ โพรเทียม ดิวเทอเรียม และทริเทียม[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไอโซโทป, ธาตุหนึ่งในกลุ่มของธาตุเดียวกันที่มีเลขอะตอมเท่ากัน แต่เลขมวลต่างกัน เช่น ดิวเทอเรียมเป็นไอโซโทปหนึ่งของธาตุไฮโดรเจน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ธาตุกัมมันตรังสี, ธาตุที่สามารถแผ่รังสีได้เอง เช่น เรเดียม ทอเรียมและยูเรเนียม เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]