การสกัดด้วยสารตัวทำละลาย[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
สารตัวทำละลาย[TU Subject Heading]
การแยกสลายด้วยตัวทำละลาย[TU Subject Heading]
ตัวทำละลาย, Example:หมวดสารพิษและกากของเสีย หมายถึง ของเหลวที่ละลายสารอื่น อาจจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ตัวทำลายนี้เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ในสารละลาย <br>หมวดคุณภาพน้ำ หมายถึง ของเหลวที่ใช้ในการละลายสาร </br>[สิ่งแวดล้อม]
ของเหลวได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นรีฟอร์เมทและเบนซิน และตัวทำละลาย ในอุตสาหกรรมผลิตสี รวมทั้งใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานโอเลฟินส์และโรงงานอะโรเมติกส์[ปิโตรเลี่ยม]
ยางคลอริเนตพอลิเอทิลีนเป็นยางที่ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างพอลิเอทิ ลีนและคลอรีน ยางชนิดนี้มีหลายเกรดขึ้นอยู่กับปริมาณของคลอรีน สมบัติโดยทั่วไปทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากสภาพอากาศ โอโซน ความร้อน และสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนต่างๆ ได้ดี มีการติดไฟต่ำ มีความเสถียรของสีสูงมาก ทนต่อน้ำมันและตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอนที่ไม่มีขั้วปานกลาง แต่มีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำไม่ดี นิยมใช้ในการผลิตปลอกหุ้มสายไฟฟ้าและสายเคเบิล ท่อยางและชิ้นส่วนภายในยานยนต์ เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
อีโบไนต์หรือยางแข็ง (hard rubber) คือ ยางที่ผ่านกระบวนการวัลคาไนเซชันโดยใช้กำมะถันในปริมาณสูง (30-50%) และให้ความร้อน ทำให้ยางมีโครงสร้างแบบร่างแห (network) และมีสมบัติแข็งมากแต่เปราะ ติดไฟง่าย ไม่เป็นพิษ ไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ทั่วไป นิยมใช้ทำหม้อบรรจุแบตเตอรีหรือภาชนะบรรจุกรด-เบส[เทคโนโลยียาง]
ยางเอทิลีนไวนิลแอซิเทตเป็นโคพอลิเมอร์ของเอทิลีนและไวนิลแอซิเทต มีสมบัติเด่น คือ ทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาความร้อน โอโซน และสภาพอากาศได้ดี มีความทนต่อน้ำมันและตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วได้ดี แต่มีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำไม่ดี มีความเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ไม่ดี ส่วนใหญ่ยางชนิดนี้จะใช้ในการผลิตปลอกหุ้มสายเคเบิลเฉพาะในกรณีที่ต้องการ สมบัติพิเศษด้านความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากโอโซน สภาพอากาศ ความร้อน และน้ำมันเท่านั้น[เทคโนโลยียาง]
ยางฟลูออโรคาร์บอนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีฟลูออรีนเป็นองค์ ประกอบอยู่ในโมเลกุล ทำให้ยางมีความเป็นขั้วและมีความเสถียรสูงมาก ทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากสภาพอากาศ ความร้อน ปฏิกิริยาออกซิเดชัน เปลวไฟ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีเยี่ยม ถึงแม้ว่ายางชนิดนี้จะทนสารเคมีต่างๆ ได้ดีแต่ไม่แนะนำให้นำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสกับตัวทำละลายที่มีขั้ว เช่น คีโตน อีเทอร์และเอสเทอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ สารประกอบเอมีน กรดไฮโดรฟลูออริกและกรดคลอโรซัลโฟนิคที่ร้อน น้ำร้อนและไอน้ำ เมทานอล และน้ำมันเบรกที่มีไกลคอลเป็นองค์ประกอบ ยางฟลูออโรคาร์บอนมีหลายเกรดแตกต่างกันตามโครงสร้างทางเคมีและปริมาณของ ฟลูออรีนในยาง การใช้งานค่อนข้างจำกัดเนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก มักนำไปผลิตปลอกหุ้มสายไฟหรือสายเคเบิล โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการความทนทานต่อความร้อน โอโซน สารเคมี และเปลวไฟสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องบิน จรวด เช่น ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ยางโอริง ปะเก็น ยางซีล เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางส่วนที่ไม่ละลายในตัวทำละลาย[เทคโนโลยียาง]
ยางไนไทรล์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นโคพอลิเมอร์ของอะไค รโลไนไทรล์และบิวทาไดอีน ประกอบด้วยอะไครโลไนไทรล์ตั้งแต่ร้อยละ 18-51 ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน ยางไนไทรล์เป็นยางที่มีความเป็นขั้วสูงมีสมบัติเด่น คือ ทนต่อน้ำมันปิโตรเลียมและตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วต่างๆ ได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อความร้อนและต้านทานต่อการขัดถูได้ดี จึงนิยมนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต้องสัมผัสกับน้ำมัน เช่น ปะเก็นน้ำมัน ยางโอริง ยางซีล ยางเชื่อมข้อต่อ เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางส่วนที่ละลายในตัวทำละลาย[เทคโนโลยียาง]
ตัวทำละลายที่มีฤทธิ์เป็นด่าง[การแพทย์]
การใช้ตัวทำละลายร่วม, การใช้ตัวทำละลายร่วมกัน[การแพทย์]
น้ำยาเจือจาง, สารลดความแรง, ไดลูเอ๊นท์, สารที่ไม่มีคุณค่าในการรักษา, ตัวผสมสี, เจือจาง, สารเพิ่มปริมาณ, การเจือจาง, สารเพิ่มปริมาณ, สารที่ใช้สำหรับเจือจาง, ตัวทำละลาย[การแพทย์]
ตัวทำละลายอิเล็คโทรไลท์[การแพทย์]
สกัดด้วยตัวทำละลาย, การสกัด, วิธีสกัดด้วยตัวทำละลาย[การแพทย์]
กรดแอซีติก, กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ CH3COOH มีชื่อสามัญว่า กรดน้ำส้ม ใช้เป็นสารปรุงอาหาร เป็นตัวทำละลายและใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น พลาสติก สี การถ่ายรูป เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
การสกัด, การแยกสารที่ต้องการซึ่งเป็นองค์ประกอบในของผสม โดยใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมละลายออกมา[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ตัวทำละลาย, สารที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของสารละลายและเป็นส่วนที่มีปริมาณมากกว่าองค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ตัวละลาย[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ตัวละลาย, สารที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของสารละลายและมีปริมาณน้อยกว่าองค์ ประกอบอีกส่วนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ตัวทำละลาย[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เมทานอล, แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ CH3OH จุดเดือด 64.6°C ไม่มีสี ละลายได้ในน้ำและตัวทำละลายบางชนิด แอลกอฮอล์ชนิดนี้เป็นพิษต่อร่างกาย ถ้าดื่มเข้าไปอาจทำให้ตาบอดหรือเสียชีวิตได้ ใช้เป็นเชื้อเพลิงและตัวทำละลาย[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ลิพิด, ไขมัน, สารประกอบอินทรีย์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยธาตุ C, H, O เป็นส่วนใหญ่ไม่ละลายน้ำแต่ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ขี้ผึ้ง ไขมันสัตว์ น้ำมันที่สกัดจากพืช เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
สารละลาย, สารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนที่มีปริมาณมากเรียกว่าตัวทำละลาย กับส่วนที่มีปริมาณน้อยกว่าเรียกว่าตัวละลาย เช่น น้ำเกลือ น้ำเชื่อม เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ออสโมซิส, การแพร่ของโมเลกุลของตัวทำละลายที่เป็นของเหลวจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำผ่านเยื่อบาง ๆ ไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
อีเทอร์, สารอินทรีย์ซึ่งมีสูตรโครงสร้างทั่วไป คือ R - O - R´ เช่น ไดเอทิลอีเธอร์(C2H5 - O - C2H5) เป็นของเหลวไม่มีสี ใช้เป็นยาสลบและตัวทำละลาย[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
เอทานอล, แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C2H5OH เป็นของเหลวไม่มีสี มีจุดหลอมเหลว -144oC จุดเดือด 78.4oC ละลายได้ในน้ำและตัวทำละลายบางชนิด ใช้เป็นเชื้อเพลิง ตัวทำละลาย[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ความเข้มข้น, ปริมาณของสารที่มีอยู่ในสารอื่นจำนวนหนึ่ง เช่น ความเข้มข้นของสารละลาย คือปริมาณของสารที่เป็นตัวละลาย ซึ่งละลายอยู่ในตัวทำละลายหรือสารละลายปริมาณหนึ่ง เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
สภาพละลายได้, ความสามารถที่ตัวละลายจะละลายได้ในตัวทำละลาย วัดได้จากความเข้มข้นของสารละลายอิ่มตัวที่อุณหภูมิหนึ่ง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
สี, สารสี, สารมีสีที่ทำให้วัตถุอื่นมีสีได้ ไม่ละลายในตัวทำละลาย แต่สามารถแขวนลอยอยู่ได้ ใช้ทำสีเคลือบผิว ผงสีแต่ละชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวในการดูดกลืนและสะท้อนแสงสี จึงทำให้เห็นเป็นสีต่าง ๆ ได้ ในเซลล์พืชหรือสัตว์จะพบสารสีได้ เช่น พบที่คลอโรฟิลล์ เป็นสารสีเขียวซึ่งท[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แคลซิเฟอรอล, วิตามิน D2 สูตรเคมีคือ C28H43OH เป็นสารพวกสเตอรอยด์ ละลายได้ในไขมันหรือตัวทำละลายไขมัน ถ้าร่างกายขาดวิตามินนี้ ทำให้การดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ไปสร้างกระดูกและฟันบกพร่องและเกิดโรคกระดูกอ่อน ฟันผุ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ความดันออสโมซิส, ความดันที่ทำให้เกิดออสโมซิสในสารละลาย เป็นความดันตามธรรมชาติซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารละลาย และชนิดของตัวทำละลายเท่านั้น ไม่ได้ขึ้นกับชนิดของตัวถูกละลาย[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
สีทา, ของเหลวที่ได้จากการผสมตัวสีตัวกลาง ตัวทำละลาย และสารอื่น ๆ ซึ่งเมื่อทาบนพื้นผิววัตถุใด ตัวสีจะเกาะติดอยู่กับผิววัตถุนั้น ส่วนตัวทำละลายจะระเหยไป ตัวกลางที่ใช้มักจะเป็นสารที่ช่วยให้ตัวสีเกาะติดกับผิววัตถุได้ดีขึ้นหรือช่วยทำให้สีแห้งเร็วขึ้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
สีพลาสติก, สีทาที่ใช้ยางธรรมชาติหรือสารสังเคราะห์เป็นตัวกลาง ทำให้อนุภาคของตัวสีมีแรงยึดเหนี่ยวกันและทำให้ตัวสีติดบนพื้นผิวของวัตถุที่ทาได้ทนทาน มักใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
สิ่งนำสี, ส่วนที่เป็นของเหลวของสีเคลือบผิว ประกอบด้วยสารสำคัญ 2 ชนิด คือ ตัวยึดเกาะและตัวทำละลาย ตัวยึดเกาะทำหน้าที่ยึดอนุภาคของผงสีและพื้นผิว ตัวทำละลายเป็นส่วนที่จะระเหยไป[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ชั้นตัวทำละลายที่อยู่โดยรอบเซลล์[การแพทย์]
ละลายในตัวทำละลายพวกเดียวกัน[การแพทย์]
ตัวทำละลายส่วนใหญ่ของระบบ[การแพทย์]