เครื่องหมาย asterisk (ดอกจัน) เป็นอักขระตัวหนึ่ง มีอยู่บนแผงแป้นอักขระ เมื่อนำมาใช้ในคำสั่งระบบดอส สัญลักษณ์ * จะใช้แทนตัวอักษรใด ๆ ก็ได้ กี่ตัวก็ได้ (wildcards) ใช้เมื่อต้องการอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูล เช่นถ้าใช้ A*.* หมายความถึง แฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A และจะมีนามสกุลอะไรก็ได้ หรือถ้าใช้ *.COM ก็หมายความ ถึงแฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีนามสกุล COM ถ้าใช้ *.* ก็จะหมายถึงทุกแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ในสารบบ หรือในจานบันทึก ดู wildcards ประกอบ
เครื่องหมาย underscore เป็นอักขระตัวหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีลักษณะดังนี้ (-) ถ้าเป็นแป้นในพิมพ์ดีดจะใช้สำหรับขีดเส้นใต้ (underline) แทน แต่ในคอมพิวเตอร์ การขีดเส้นใต้มักนิยมใช้เป็นคำสั่ง (underline) แทน แต่บนแผงแป้นพิมพ์ก็ยังมีแป้นนี้อยู่ เมื่อกดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์จะถือเสมือนเป็นตัวอักขระตัวหนึ่ง แต่ไม่สามารถใช้เป็นการขีดเส้นใต้ได้ต่อไปอีก เช่น อาจตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลว่า A-B ก็ได้
(แอส'เทอริสคฺ) n. เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) , สิ่งที่มีลักษณะคล้ายดาว. -vt. ใส่เครื่องหมายดอกจันทร์หรือดาว ดอกจัน <คำแปล>* <เครื่องหมาย>เป็นอักขระตัวหนึ่ง มีอยู่บนแผงแป้นอักขระ เมื่อนำมาใช้ในคำสั่งระบบดอส สัญลักษณ์ * จะใช้แทนตัวอักษรใด ๆ ก็ได้ กี่ตัวก็ได้ (wildcards) ใช้เมื่อต้องการอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูล เช่นถ้าใช้ A*.* หมายความถึง แฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A และจะมีนามสกุลอะไรก็ได้ หรือถ้าใช้ *.COM ก็หมายความ ถึงแฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีนามสกุล COM ถ้าใช้ *.* ก็จะหมายถึงทุกแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ในสารบบ หรือในจานบันทึก ดู wildcards ประกอบ
ชื่อแฟ้มคำสั่งรวม <คำแปล>เป็นชื่อของแฟ้มเก็บคำสั่งรวม (batch file) แฟ้มหนึ่ง ถือเป็นแฟ้มพิเศษ เพราะคอมพิวเตอร์จะทำตามคำสั่งในแฟ้มที่ชื่อนี้ทันทีที่เปิดเครื่อง โดยมาก จะเขียนขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เรียกโปรแกรมต่าง ๆ มาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลาหาว่า โปรแกรมที่ต้องการอยู่ในสารบบ (directory) ใด ใช้คำสั่งเข้าไปในสารบบนั้น แล้วจึงตามด้วยชื่อแฟ้มที่เป็นโปรแกรม แต่ผู้ใช้สามารถพิมพ์ชื่อโปรแกรมได้เลย ตัวอย่างแฟ้ม autoexec.bat ที่นำเข้าสู่ โปรแกรม FoxPro โดยผ่านโปรแกรม VTHAI อาจมีข้อความดังนี้ echo off cls cd FOXPRO25 VTHAI/U CD\ AUX : axis :
\ (อักขระ) <เครื่องหมาย>หมายถึงสัญลักษณ์ \ เครื่องหมายนี้ดูเผิน ๆ คล้ายกับ / (slash) แต่กลับทิศทางกัน บางคนคิดว่าเหมือนกัน แต่ความหมายจะแตกต่างกันมาก ในระบบดอส สัญลักษณ์นี้ใช้แยกระหว่างชื่อสารบบ (directory) กับชื่อแฟ้มข้อมูล (file) เช่น DIR C:\Taksina\June.xlsคำสั่งข้างบนนี้เป็นคำสั่งให้แสดงแฟ้มข้อมูลชื่อ June.xls ซึ่งอยู่ภายใต้สารบบชื่อ Taksina และเก็บอยู่ในหน่วยบันทึก C:
คอมมานด์จุดคอม (ชื่อแฟ้มระบบ) เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่งในระบบดอส ซึ่งบรรจุคำสั่งระบบต่าง ๆ เช่น dir, copy, del จานบันทึกที่นำมาจัดรูปแบบการเก็บข้อมูลด้วยคำสั่ง format A:/s แล้ว จะมีแฟ้มข้อมูลนี้อยู่ในแผ่น A: แฟ้มข้อมูลนี้ จะนำมาใช้เป็นแผ่นเริ่มต้นเปิดเครื่อง (boot) ได้ ถ้าใช้คำสั่ง Format ในระบบวินโดว์ ต้องกากบาทที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้าคำ system disk ด้วย จึงจะมีแฟ้มข้อมูลนี้ (จานบันทึกที่ไม่มีแฟ้มข้อมูลนี้ ใช้เก็บแฟ้มข้อมูลได้อย่างเดียว จะนำมาสั่งให้เริ่มเครื่อง (boot) ไม่ได้)
แฟ้มโครงแบบย่อมาจาก configuration system เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลที่ใช้ในระบบดอสและโอเอสทูซึ่งจะมีข้อความที่กำหนดในเรื่องการใช้แป้นพิมพ์ จำนวนของบัฟเฟอร์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบนั้นจะใช้ ฯ พอเริ่มใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไปสักพัก ก็จะต้องเรียนรู้วิธีการสร้างแฟ้มข้อมูลนี้ คอมพิวเตอร์จะแฟ้มข้อมูลนี้เฉพาะเมื่อมีการเริ่มเครื่องใหม่เท่านั้น
ช่องเลือกแบบดึงลงในระบบวินโดว์ จะมีช่องสองช่องที่แสดงบนจอภาพ ช่องแรกมีไว้ให้พิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูลลงไป ส่วนอีกช่องหนึ่ง จะมีรายชื่อให้เลือกหาเอาโดยกดเมาส์ที่ลูกศรที่บาร์เลื่อนจอ ภาพ (scroll bar) เช่น ในการสั่งเก็บหรือบันทึกแฟ้มข้อมูลลงในจานบันทึก เราอาจเลือกหาชื่อที่แสดงอยู่ในช่องให้เลือกนี้ (ถ้ามีอยู่แล้ว) เมื่อพบแล้ว ก็กดเมาส์ที่ชื่อนั้น หรือถ้ารู้แน่ว่าไม่มี จะพิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูลใหม่ลงไปในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ อีกช่องหนึ่งเลยก็ได้
อีเอกซ์อีย่อมาจากคำว่า executable file ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลในระบบดอสและ โอเอส/ทู แฟ้มที่มีนามสกุลดังกล่าวนี้ จะเป็นแฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวโปรแกรมแท้ ๆ และจะเป็นตัวปฏิบัติการ แฟ้มข้อมูลอื่น ๆ นอกจากนั้นจะเป็นเพียงแฟ้มประกอบ เช่น โปรแกรมสำเร็จ Microsoft Excel จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายสิบแฟ้ม แต่แฟ้มที่เป็นตัวปฏิบัติการคือแฟ้ม Excel.exe ถ้ากดเมาส์ที่ชื่อแฟ้มข้อมูลนี้ก็จะเท่ากับเป็นการสั่งเรียกโปรแกรมนั้นให้เริ่มทำงาน มีลักษณะคล้ายแฟ้มข้อมูลที่นามสกุล .COM
(อิคซฺเทน'เชิน) n. การขยายออก, การยืดออก, การแผ่ออก, สิ่งที่ขยายออก, โทรศัพท์พ่วง นามสกุลในระบบดอส หมายถึง ตัวอักษรสามตัวที่อยู่หลังชื่อแฟ้มข้อมูล เนื่องจากอยู่ในตอนท้ายของชื่อ จึงนิยมเรียกกันว่า"นามสกุล" โดยปกติ คอมพิวเตอร์จะใช้นามสกุลนี้เป็นตัวบอกประเภทของแฟ้มข้อมูล จะมีจุดคั่นระหว่างชื่อและนามสกุล เช่น ถ้าแฟ้มข้อมูลที่เป็นภาษาปาสกาล (Pascal) ก็จะมีนามสกุล .PAS ถ้าเป็นแฟ้มภาษาเบสิก ก็จะมีนามสกุล .BAS อย่างนี้เป็นต้น หรือถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลสำรอง ก็มักจะใช้นามสกุลว่า .BAK ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรต้องรู้ว่า นามสกุลอะไร บอกว่าเป็นแฟ้มข้อมูลประเภทไหน โดยเฉพาะนามสกุล .exe, .com, .bin, .doc, .bat ซึ่งจะต้องพบ บ่อย ๆ มีความหมายเหมือน file type
ลักษณะประจำของแฟ้มข้อมูลหมายถึง ข้อความที่บ่งบอกถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของแฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้ม ว่าเป็นแฟ้มประเภทใด เช่น ซ่อนไว้ (hidden) อ่านได้อย่างเดียว (read only) แก้ไขหรือ ลบทิ้งไม่ได้ (locked) ฯลฯ การเปลี่ยนคุณลักษณะของแฟ้ม ข้อมูล มิได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาใด ๆ ในแฟ้ม แต่จะมีผลต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เกี่ยวกับ แฟ้มข้อมูลนั้น เช่น ถ้าเปลี่ยนให้เป็นประเภท "ซ่อนไว้ " ก็จะหาไม่พบในรายชื่อแฟ้มข้อมูล
สารบบแฟ้มหมายถึง รายชื่อแฟ้มข้อมูลทั้งหมดที่เก็บไว้ในจานบันทึก หรือฮาร์ดดิสก์
รหัสเข้าสู่แฟ้มหมายถึง รหัสลับที่ใช้เป็นทางเข้าสู่แฟ้มข้อมูลในระบบดอส โดยปกติ เรา เพียงบอกแต่ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการเปิด คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการให้ แต่ถ้าเป็นเรื่องลับ เราอาจสั่งให้ คอมพิวเตอร์นำชื่อไปแปลงเป็นตัวเลขก่อน ตัวเลขเหล่านี้ เรียกว่า " file handle" การเข้าสู่แฟ้มข้อมูล ต้องใช้รหัส เหล่านั้นเท่านั้น
สัญลักษณ์แสดงชื่อแฟ้มหมายถึงป้ายหรือที่ ๆ จะทำเครื่องหมายบ่งบอกว่า แฟ้มข้อมูลนั้นชื่ออะไรเก็บไว้ในสื่อชนิดใด เช่น แฟ้มข้อมูลชื่อ CHULA เก็บไว้ในสื่อที่เป็นแถบบันทึกมีจำนวนทั้งสิ้นสี่ม้วน เป็นต้นมีความหมายเหมือน file label
ป้ายแสดงชื่อแฟ้มหมายถึง ป้ายหรือที่ที่จะทำเครื่องหมายบ่งบอกว่า แฟ้มข้อมูลนั้นชื่ออะไร เก็บไว้ในสื่อชนิดใด เช่น แฟ้มข้อมูลชื่อ CHULA เก็บไว้ในสื่อที่เป็นแถบบันทึกมีจำนวนทั้งสิ้นสี่ม้วน เป็นต้นมีความหมายเหมือน file identification
ช่องแสดงรายชื่อแฟ้มหมายถึง ช่องสี่เหลี่ยมที่แสดงรายชื่อแฟ้มข้อมูลทั้งปวงที่มีอยู่ในสารบบใดสารบบหนึ่ง มีทั้งในระบบวินโดว์ของเครื่องพีซี และเครื่องแมคอินทอช
ชื่อแฟ้ม (ข้อมูล) แฟ้มข้อมูลก็ดี โปรแกรมหรือชุดคำสั่งก็ดี จะต้องมีชื่อที่ ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ได้เมื่อ ต้องการ เรียกใช้ระบบปฏิบัติการแต่ละระบบ จะมีข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลไว้ เป็นต้นว่า ระบบดอสและวินโดว์ มีข้อกำหนดว่า ชื่อของแฟ้ม ข้อมูล จะต้องยาวไม่เกิน 8 ตัวอักขระ (ตัวอักษรหรือตัวเลข) ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ต้องไม่มีช่องว่าง ฯ และที่สำคัญที่สุด คือตั้งชื่อเป็นภาษาไทยไม่ได้โดยเด็ดขาด นอกจากนั้น อาจจะต้องมีนามสกุล (filetype) ซึ่งต้องประกอบด้วย 3 ตัวอักษร ส่วนระบบของแมคอินทอช มีข้อจำกัดน้อยกว่านั้น มาก เช่น จะใช้ภาษาไทยก็ได้
ชื่อประเภทแฟ้มข้อมูลหมายถึงส่วนหนึ่งของชื่อแฟ้มข้อมูล โดยปกติในระบบดอส จะเขียนมีขนาดความยาวไม่เกิน 3 ตัวอักขระ เช่น EXAM. BAS BAS จะบ่งบอกว่าเป็นแฟ้มข้อมูลที่เขียนด้วยภาษาเบสิก
บันทึกทับหมายถึง การบันทึกแฟ้มข้อมูลลงเก็บในหน่วยบันทึก โดยใช้ชื่อซ้ำกับชื่อแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิม หรือบันทึกข้อมูลทับลงไปในที่อยู่ (address) เดิม การทำดังกล่าวจะมีผลให้ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเดิมหายไป (มีความหมายเหมือน replace) ส่วนมาก คอมพิวเตอร์มักจะมีคำเตือนย้ำให้ก่อนเสมอ โดยเฉพาะเมื่อใช้คำสั่ง "save as" เพื่อสั่งเก็บข้อมูลลงในหน่วยบันทึก
เส้นบอกทางหมายถึง เส้นบอกทางไปยังที่ที่ใช้เก็บแฟ้มข้อมูล โดยต้องเริ่มต้นด้วยหน่วยบันทึก (drive) คั่นด้วยเครื่องหมาย : ตามด้วยเครื่องหมาย \ หลังจากนั้นเป็นชื่อ สารบบ (directory) และอนุสารบน (subdirectory) ถ้ามี คั่นด้วย \ แล้วจึงถึงชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ เช่นตัวอย่างC:\PROGRAMS\GRAPHICSชA"ข้อความนี้ หมายความว่า แฟ้มข้อมูลชื่อ AAA อยู่ในอนุสารบนชื่อ GRAPHICS ในสารบบใหญ่ที่ชื่อ PROGRAM และอยู่ในหน่วยบันทึก C: อนึ่ง ในระบบวินโดว์ ทุกครั้งที่จะบันทึกแฟ้มข้อมูลลงในจานบันทึก หรือเรียกแฟ้มข้อมูลมาแสดงหรือสั่งพิมพ์ ฯ จะต้องแจ้งเส้นบอกทางไปยังแฟ้มข้อมูลนั้นให้ชัดเจน ถ้าเป็นแมคอินทอช จะไม่ใช้ระบบการเก็บแฟ้มข้อมูลแบบนี้
คำสงวนหมายถึง คำหรือรหัสหนึ่งรหัสใดที่กำหนดให้ใช้เพื่อการใดโดยเฉพาะแล้ว ห้ามนำไปใช้เพื่อการอื่นอีกได้ เช่น คำ copy del หรือ ren ล้วนแต่เป็นคำสั่งที่ใช้ในระบบปฏิบัติการดอสแล้ว คำเหล่านี้เป็นคำสงวนทั้งหมด จะนำไปตั้งเป็นชื่อตัวแปร หรือชื่อแฟ้มข้อมูลไม่ได้
แถบชื่อ (แฟ้มข้อมูล) หมายถึง แถบยาวที่ส่วนบนของวินโดว์ เป็นที่ใช้บอกชื่อแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในวินโดว์นั้นหรือชื่อของงานที่เราสร้างขึ้น ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดชื่อให้ไว้ แถบชื่อเรื่องนั้นจะพิมพ์คำว่า Untitled เอาไว้ให้รู้ว่ายังไม่ได้กำหนดชื่อใด ๆ ให้ และจะต้องตั้งชื่อเมื่อต้องการบันทึกลงในแฟ้มข้อมูลภายหลัง
(ซิพ) n. เสี่ยงหวือ, พลังงาน, กำลังวังชา, ศูนย์, ความไม่มีอะไร vi. เคลื่อนที่หรือกระทำด้วยความเร็วหรือพลังสูง vt. เติมพลัง, เติมความเร่าร้อน, รูปซิป, ดึงซิป, ทำให้พ่ายแพ้ , ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อแฟ้มข้อมูลที่ได้ผ่านการอัดแน่นโดยโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่มีชื่อว่า PKZIP การอัดแน่นข้อมูลนั้นมีประโยชน์ในการประหยัดที่เก็บ เมื่อใดที่ต้องการใช้ จะต้องนำมาขยายขนาดเท่าเดิมก่อน โดยใช้โปรแกรมที่ชื่อ PKUNZIP ปัจจุบัน ในระบบวินโดว์ 95 ใช้โปรแกรมชื่อ Winzip, See Also:ziper n., Syn.vitality