ฉนวนไฟฟ้า[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การหุ้มฉนวนความร้อน[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
อุตสาหกรรมวัสดุฉนวนไฟฟ้า[TU Subject Heading]
ฉนวนความร้อน[TU Subject Heading]
เครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น, เป็นเครื่องเร่งอนุภาคแบบหนึ่ง ใช้เร่งอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนจะถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรงภายใต้สนามไฟฟ้าสถิตย์(electrostatic field) หรือสนามไฟฟ้าสลับย่านความถี่คลื่นวิทยุ (Radio frequency field) เครื่องเร่งอนุภาคทั้งสองแบบ ให้อิเล็กตรอนที่มีช่วงพลังงานแตกต่างกัน ในเครื่องเร่งแบบไฟฟ้าสถิตย์ (electrostatic accelerator)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องเร่งแบบกระแสตรง (DC-accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรง ภายใต้ความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว เครื่องเร่งชนิดนี้สามารถเร่งลำอิเล็กตรอนให้มีพลังงานระหว่าง 0.1-0.5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ นิยมใช้ในงานเคลือบผิววัตถุ การปรับปรุงคุณภาพวัสดุ เช่น ฉนวนหุ้มสายไฟ การวัลคาไนซ์ของน้ำยาง ในเครื่องเร่งแบบใช้สนามไฟฟ้าย่านความถี่คลื่นวิทยุ (high frequency accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งผ่านท่อทรงกระบอกซึ่งเรียงกันเป็นเส้นตรง และต่อกับแหล่งกำเนิดศักดาไฟฟ้าซึ่งสลับขั้วด้วยความถี่ในย่านของคลื่นวิทยุ เครื่องเร่งนี้สามารถเร่งลำอิเลคตรอนให้มีพลังงานสูงในช่วง 5-10 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ เหมาะสำหรับงานผลิตเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ และงานวิจัยทางฟิสิกส์[พลังงาน]
ยาง EPDM เป็นยางสังเคราะห์ที่พัฒนามาจากยาง EPM โดยเติมมอนอเมอร์ตัวที่สาม คือ ไดอีน ลงไปเล็กน้อยในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ทำให้ยางที่ได้มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (พันธะคู่) อยู่ในสายโซ่โมเลกุล ยางชนิดนี้จึงสามารถคงรูปได้ด้วยกำมะถัน แต่ไดอีนที่เติมลงไปไม่ได้ไปแทรกอยู่ที่สายโซ่หลักของโมเลกุล ดังนั้นสายโซ่หลักก็ยังคงเหมือนเดิมหรือไม่มีผลต่อสายโซ่หลักมากนัก จึงทำให้ยาง EPDM ยังคงมีสมบัติเด่นในเรื่องการทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน แสงแดด ออกซิเจน โอโซน สารเคมี กรด ด่างได้ดีมาก และมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีที่อุณหภูมิต่ำเมื่อเทียบกับ ยางธรรมชาติ มักใช้ทำผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ภายนอกเนื่องจากทนต่อสภาพอากาศได้ดีและใช้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ยางขอบกระจก ยางปัดน้ำฝน ท่อยางของหม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นฉนวนหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง แผ่นยางกันน้ำ แผ่นยางมุงหลังคา[เทคโนโลยียาง]
ยาง EPM เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาโคพอลิเมอไรเซชันระหว่างมอนอเมอร์ ของเอทิลีน (ethylene) กับโพรพิลีน (propylene) มีลักษณะการจัดเรียงตัวของโมเลกุลแบบอสัณฐานและมีสมบัติเป็นยาง แต่ไม่มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (ไม่มีพันธะคู่) จึงทำให้มีสมบัติเด่นในเรื่องความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากแสง แดด ออกซิเจน ความร้อน โอโซน และสารเคมี แต่ยางชนิดนี้มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถใช้กำมะถันในการคงรูปได้ (เนื่องจากไม่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล) ดังนั้นการทำให้ยางคงรูปจึงต้องใช้เพอร์ออกไซด์เท่านั้น การใช้งานนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานภายนอก เช่น ยางขอบประตู ยางขอบหน้าต่าง โอริง ฉนวนหุ้มสายเคเบิล เป็นต้น[เทคโนโลยียาง]
ยางเอทิลีนไวนิลแอซิเทตเป็นโคพอลิเมอร์ของเอทิลีนและไวนิลแอซิเทต มีสมบัติเด่น คือ ทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาความร้อน โอโซน และสภาพอากาศได้ดี มีความทนต่อน้ำมันและตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วได้ดี แต่มีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำไม่ดี มีความเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ไม่ดี ส่วนใหญ่ยางชนิดนี้จะใช้ในการผลิตปลอกหุ้มสายเคเบิลเฉพาะในกรณีที่ต้องการ สมบัติพิเศษด้านความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากโอโซน สภาพอากาศ ความร้อน และน้ำมันเท่านั้น[เทคโนโลยียาง]
ยางธรรมชาติสายพันธุ์หนึ่งที่ได้จากต้นยางกัตตา (Palaquium gutta) ซึ่งเป็นต้นไม้ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสมบัติความยืดหยุ่นไม่ดีเนื่องจากลักษณะโครงสร้างโมเลกุลเป็น ทรานส์-1, 4-พอลิไอโซพรีน (trans-1, 4-polyisoprene) แต่มีความเป็นฉนวนที่ดี นิยมใช้ในการทำส่วนประกอบของลูกกอล์ฟ ทำฟันปลอม ฉนวนหุ้มสายเคเบิลไฟทั้งใต้ดินและในทะเล[เทคโนโลยียาง]
ยางเอสบีอาร์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งผลิตโดยการเตรียมโคพอลิ เมอร์ระหว่างสไตรีนและบิวทาไดอีนด้วยวิธีพอลิเมอไรเซชั่นแบบอิมัลชัน (Emulsion polymerization) มีชื่อเรียกว่า Buna-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1) และ GR-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) เป็นยางที่ใช้ในงานทั่วไป ราคาไม่แพง มีหลายเกรดขึ้นกับกระบวนการสังเคราะห์ ยางเอสบีอาร์เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติจะมีคุณภาพสม่ำเสมอกว่า มีสิ่งเจือปนน้อยกว่า และที่สำคัญคือ ไม่ต้องบดยางให้นิ่มก่อนทำการผสมเคมียางเนื่องจากยางชนิดนี้ถูกสังเคราะห์มา ให้มีน้ำหนักโมเลกุลที่ไม่สูงมากนัก จึงมีความหนืดที่เหมาะสมทำให้สารเคมีกระจายตัวได้ดี ไหลได้ง่ายในระหว่างการขึ้นรูป มีแนวโน้มที่จะเกิดยางตายในระหว่างกระบวนการผลิตน้อยกว่า มีอัตราเร็วในการคงรูปช้ากว่าและถูกออกซิไดซ์ได้ช้ากว่ายางธรรมชาติ ทำให้สามารถผสมยางในเครื่องผสมระบบปิดที่อุณหภูมิสูงกว่าได้ แม้ว่ายางเอสบีอาร์จะมีค่าความทนต่อแรงดึงและความทนต่อการฉีกขาดต่ำกว่ายาง ธรรมชาติ เนื่องจากไม่สามารถเกิดการตกผลึกได้เมื่อถูกยืด แต่ถ้ามีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงลงไปก็สามารถทำให้ค่าดังกล่าวสูงใกล้ เคียงหรือต่ำกว่ายางธรรมชาติเพียงเล็กน้อย สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น การผลิตสายพาน พื้นรองเท้า ฉนวนหุ้มสายไฟ และส่วนมากจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยางล้อยานพาหนะขนาดเล็กโดยใช้ผสมกับ ยางชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติ ยางบิวทาไดอีน[เทคโนโลยียาง]
ฉนวน, สารที่เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้า หรือเป็นตัวนำความร้อนที่ไม่ดี[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ตัวเก็บประจุ, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งมีสมบัติในการเก็บประจุไฟฟ้า ตัวเก็บประจุอย่างง่าย ๆ ประกอบด้วยแผ่น ตัวนำคู่เดียวหรือหลายคู่ซึ่งมีฉนวนคั่นระหว่าง แผ่นตัวนำ มีสมบัติสำคัญ อีกประการหนึ่ง คือให้ไฟฟ้ากระแสสลับผ่านได้แต่ไม่ยอมให้ไฟฟ้า กระแสตรงผ่าน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
บัลลาสต์, อุปกรณ์ในวงจรหลอดฟลูออเรสเซนซ์ ทำหน้าที่เพิ่มความต่างศักย์ไฟฟ้าเพื่อจุดหลอดฟลูออเรสเซนซ์ ประกอบด้วยขดลวดตัวนำหุ้มฉนวนพันอยู่บนแกนเหล็ก[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ประกายไฟฟ้า, ปรากฏการณ์ที่ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง เช่น อากาศหรือฉนวนไฟฟ้า ระหว่างจุด 2 จุดที่มีความต่างศักย์ไฟฟ้าสูง เกิดจากการเสื่อมสภาพเป็นฉนวนอย่างฉับพลันของตัวกลางนั้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
สารกึ่งตัวนำ, สารที่มีสภาพนำไฟฟ้าอยู่ในช่วงระหว่างสภาพนำไฟฟ้าของตัวนำและฉนวน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ใยหิน, แร่ชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใย มีอยู่ในธรรมชาติ ประกอบด้วยสารซิลิเกตหลายชนิดปนกัน ที่สำคัญคือ แคลเซียมและแมกนีเซียมซิลิเกต ใช้เป็นฉนวนความร้อนและไฟฟ้า[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ใยแก้ว, เส้นใยทำจากแก้วนำมาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น เป็นฉนวนความร้อน เป็นวัสดุเสริมกำลังในไฟเบอร์กลาสส์ เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไมกา, แร่ชนิดหนึ่งเป็นผลึกของสารประกอบพวก KAl2(AlSi3)O10.(OH.F)2 มีความแข็ง 2 - 2.5 ความถ่วงจำเพาะ 2.76 - 3.1 เมื่อเป็นแผ่นบาง ๆ จะโปร่งใส ไม่มีสีแต่ถ้าซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นจะเกิดเป็นสีต่าง ๆ ได้ เช่น เหลือง เขียว แดงเป็นต้น ใช้ทำฉนวนไฟฟ้าและวัตถุทนไฟ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
สายโคแอกซ์, สายนำสัญญาณที่ต่อจากเสาอากาศเครื่องรับโทรทัศน์หรือสายเคเบิลทีวี ตัวสายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นหุ้มด้วยฉนวนเพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกว[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
สายไฟเบอร์ออพติก, สายนำสัญญาณ ที่ประกอบด้วยกลุ่มของเส้นใยทำจากแก้ว หรือพลาสติกที่มีขนาดเล็กประมาณเส้นผม แต่ละเส้นจะมีแกนกลางที่ถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วอีกชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า แคล็ดดิง และหุ้มอีกชั้นด้วยฉนวนเพื่อป้องกันการกระแทกและฉีกขาด[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]