คาร์โบไฮเดรต[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
ผลผลิตการแยกสลายด้วยรังสี, สารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีสารใดๆ เช่น การฉายรังสีอาหาร รังสีจะถ่ายเทพลังงานให้โมเลกุลต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร เช่น น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า และ เกิดการแยกสลาย ได้อนุมูลอิสระซึ่งไม่เสถียรและทำปฏิกิริยากับสารที่เป็นองค์ประกอบของอาหารได้สารประกอบต่างๆ ที่มีโมเลกุลเล็กลง[นิวเคลียร์]
ชื่อกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน, Example:คำที่มักเขียนผิด คือ คาร์โบไฮเดรท[คำที่มักเขียนผิด]
ปริมาณคาร์โบไฮเดรต[TU Subject Heading]
คาร์โบไฮเดรต[TU Subject Heading]
เรดิโอไลติกโปรดักส์, คือ สารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีอาหาร เมื่อรังสีทะลุผ่านอาหาร รังสีจะถ่ายเทพลังงานให้โมเลกุลต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร เช่น น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า และเกิดปฏิกิริยาเรดิโอไลซิส ได้อนุมูลอิสระซึ่งไม่เสถียร และไปทำปฏิกิริยากับสารที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร ได้สารประกอบต่างๆ ที่มีโมเลกุลเล็กลง ซึ่งเรียกโดยรวมว่า เรดิโอไลติก โปรดักส์ การเกิดอนุมูลอิสระนอกจากจะเกิดจากการใช้รังสีแล้ว ยังเกิดจากการใช้ความร้อน เช่น การต้ม การทอด การอบ การย่าง และการปิ้ง และอนุมูลอิสระที่เกิดจากการใช้ความร้อนนี้ทำให้เกิดสารประกอบต่างๆ ที่มี โมเลกุลเล็กลงได้เช่นกัน แต่เรียกโดยรวมว่าเทอร์โมไลติกโปรดักส์ และเมื่อเปรียบเทียบกับเรดิโอไลติกโปรดักส์ พบว่า สารประกอบส่วนใหญ่เป็นชนิดเดียวกัน และเป็นสารประกอบที่ตรวจพบได้ในอาหารที่ไม่ได้ฉายรังสี[พลังงาน]
น้ำยางธรรมชาติได้มาจากต้นยาง Hevea brasiliensis มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนม ประกอบด้วยส่วนที่เป็นอนุภาคยาง 35% ส่วนที่ไม่ใช่ยาง 5% เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เป็นต้น ที่เหลือเป็นน้ำประมาณ 60% โครงสร้างโมเลกุลมีลักษณะเป็น ซิส-1, 4-พอลิไอโซพรีน (cis-1, 4-polyisoprene) สามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำยางธรรมชาติ เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย สายยางยืด เป็นต้น หรือนำไปแปรรูปเป็นยางแห้งเพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางแห้ง[เทคโนโลยียาง]
ปริมาณของแข็งที่ไม่ใช่ยาง หมายถึง ปริมาณของแข็งอื่นๆ ที่ไม่ใช่เนื้อยางที่มีอยู่ในน้ำยาง เช่น แมกนีเซียม ทองแดง คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เป็นต้น สามารถหาได้จากการนำเอาค่า DRC ไปหักออกจากค่า TSC ก็จะได้ค่า NRC ถ้าน้ำยางข้นชุดใดมีค่า NRC สูง ก็บ่งชี้ว่า น้ำยางชุดนั้นมีสารที่ไม่ใช่เนื้อยางมาก ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความเสถียรของน้ำยาง[เทคโนโลยียาง]
จำนวนกรดไขมันระเหย หมายถึง ปริมาณของกรดไขมันระเหยที่เกิดขึ้นโดยการไฮโดรไลซิสของคาร์โบไฮเดรตในเซรุ่ม ของน้ำยาง กรดเหล่านี้ประกอบด้วยกรดแอซิติก กรดฟอร์มิก และกรดพรอพิโอนิก เป็นส่วนใหญ่ หรือหมายถึง จำนวนกรัมของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ที่ทำให้กรดไขมันระเหยทั้งหมดในน้ำยางที่ มีปริมาณของแข็งทั้งหมด 100 กรัม เป็นกลาง ค่า VFA No. เป็นค่าที่บ่งชี้ถึงสถานะการเสียสภาพ ถ้าค่า VFA No. สูง แสดงว่าน้ำยางถูกเชื้อจุลินทรีย์เข้าทำลายมาก เกิดกรดไขมันระเหยมาก ทำให้สูญเสียสภาพการเป็นคอลลอยด์ เกิดการบูดเน่าและจับเป็นก้อนได้[เทคโนโลยียาง]
คาร์โบฮัยเดรท, คาร์โบไฮเดรต, คาร์โบไฮเดรท[การแพทย์]
อาหารจำกัดคาร์โบไฮเดรต[การแพทย์]
อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ[การแพทย์]
ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์, กลุ่มฮอร์โมนที่สร้างจากอะดรีนัลคอร์เทกซ์ของต่อมหมวกไต มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
การสังเคราะห์ด้วยแสง, กระบวนการสร้างอาหารของสิ่งมีชีวิตที่มีคลอดโรฟิลล์ เช่น พืชสีเขียวและโพรทิสต์บางชนิดโดยใช้น้ำและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบและมีคลอโรฟิลล์กับพลังงานแสงเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ผลที่ได้ก็คือ คาร์โบไฮเดรตและแก๊สออกซิเจน กระบวนการนี้แสดงได้โดยสมการ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไกลโคเจน, คาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากการรวมตัวของน้ำตาลกลูโคสหลายโมเลกุลที่ร่างกายของสัตว์สะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ จะถูกนำออกมาใช้เมื่อร่างกายต้องการ[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไกลโคโปรตีน, โปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งโมเลกุลประกอบด้วยกรดอะมิโนกับคาร์โบไฮเดรต พบในน้ำลาย ไข่ขาว เยื่อหุ้มเซลล์สัตว์[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
คอร์ติซอล, ฮอร์โมนที่สร้างจากอะดรีนัลคอร์เทกซ์ของต่อมหมวกไต มีหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
คาร์โบไฮเดรต, สารอาหารประเภทให้พลังงาน ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) มีสูตรทั่วไปคือ (CH2O)n พบทั่วไปในพืชและสัตว์ เช่น แป้ง น้ำตาล เซลลูโลส[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไคทิน, สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่มีองค์ประกอบคล้ายคาร์โบไฮเดรต แต่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบด้วย พบในเขาสัตว์ เปลือกหุ้มภายนอกของสัตว์จำพวกอาร์โทรพอดและผนังเซลล์ของเชื้อราบางชนิด[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไซโทพลาซึม, ของเหลวภายในเซลล์ที่อยู่รอบนิวเคลียส มีสารอินทรีย์พวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ไซโทพลาซึมแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ เอ็กโทพลาซึมและเอนโดพลาซึม[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไดแซ็กคาไรด์, สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุลมารวมตัวกัน เช่น ซูโครส ประกอบด้วยกลูโคส 1 โมเลกุลรวมกับฟรักโทส 1 โมเลกุล[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
พอลิแซ็กคาไรด์, สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวมาเรียงต่อกันมากกว่า 2 โมเลกุลขึ้นไป เช่น แป้ง ไกลโคเจน เซลลูโลส เป็นต้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
มอโนแซ็กคาไรด์, สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคส ฟรักโทส กาแลกโทส เป็นต้น แต่ละชนิดมีสูตรโครงสร้างแตกต่างกันไป[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไรโบเฟลวิน, วิตามินบี 2, วิตามิน B2 สูตรเคมีคือ C17H20N4O6 ผลึกสีส้ม ละลายได้ในน้ำ เป็นเอนไซม์เกี่ยวกับการสันดาปสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโน รวมทั้งการสร้างโปรตีน ถ้าขาดวิตามินนี้ จะทำให้เป็นแผลตามมุมปาก ลิ้นบวม อ่อนเพลีย ระบบย่อยอาหารไม่ทำงาน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ไลโซโซม, ออร์แกเนลล์ในเซลล์ มีลักษณะเป็นถุงมีเยื่อหุ้ม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยสารต่าง ๆ ภายในเซลล์ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
สารอาหาร, สารที่สิ่งมีชีวิตนำเอาไปใช้ในกระบวนการดำรงชีวิต สารอาหารมี 6 ชนิด คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ น้ำ และ วิตามิน[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แป้ง, สารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวเป็นจำนวนมาก มีสูตรทางเคมีทั่วไปคือ (C6H10O5)n เมื่อย่อยสลายโดยเอนไซม์หรือต้มกับสารละลายกรดจะได้กลูโคส[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง, กระบวนการในการสังเคราะห์ด้วยแสงที่นำ ATP และ NADPH2 ซึ่งได้จากปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงมาเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ ให้เป็นคาร์โบไฮเดรต[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]