อิเล็กตรอนโวลต์, หน่วยหนึ่งของพลังงานหรืองาน 1 อิเล็กตรอนโวลต์ คือ พลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ผ่านความต่างศักย์ไฟฟ้าขนาด 1 โวลต์ มีค่าเท่ากับ 1.603 x 10<sup>-12</sup> เอิร์ก[นิวเคลียร์]
การเปลี่ยนความต่างศักย์ไฟฟ้าเฉพาะที่[การแพทย์]
ศักย์ทางไฟฟ้า, ความต่างศักย์ไฟฟ้า, ศักย์ไฟฟ้า, ความแตกต่างในศักย์ไฟฟ้า[การแพทย์]
ขดลวดเหนี่ยวนำ, อุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มความต่างศักย์ไฟฟ้าให้สูงขึ้นโดยอาศัยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าของขดลวดไฟฟ้า[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ความจุ, สมบัติในการเก็บประจุไฟฟ้าของตัวนำหรือตัวเก็บประจุ มีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างจำนวนประจุไฟฟ้าบนตัวนำหรือตัวเก็บประจุกับความต่างศักย์ไฟฟ้าของตัวนำหรือตัวเก็บประจุนั้น ใช้สัญลักษณ์ C[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ความต่างศักย์, โดยทั่วไปหมายถึงความต่างศักย์ไฟฟ้า (ดู electric potential difference)[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ความต่างศักย์ไฟฟ้า, ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุด 2 จุดในสนามไฟฟ้าหรือในวงจรไฟฟ้า เป็นงานที่ทำในการเคลื่อนประจุบวก 1 หน่วยจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ความต่างศักย์หยุดยั้ง, ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่พอดีทำให้โฟโตอิเล็กตรอนในหลอดสุญญากาศหยุดเคลื่อนที่[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
คู่ควบความร้อน, คู่ควบความร้อน อุปกรณ์วัดอุณหภูมิ โดยใช้หลักความแตกต่างของอุณหภูมิที่ปลายซึ่งต่อกันทั้ง 2 ข้างของโลหะตัวนำ 2 ชนิด ทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าขึ้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ตัวแบ่งศักย์, ความต้านทานที่ถูกต่อในวงจรไฟฟ้าเพื่อแบ่งความต่างศักย์ไฟฟ้าในวงจรนั้นออกเป็นความต่างศักย์ย่อย[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
บัลลาสต์, อุปกรณ์ในวงจรหลอดฟลูออเรสเซนซ์ ทำหน้าที่เพิ่มความต่างศักย์ไฟฟ้าเพื่อจุดหลอดฟลูออเรสเซนซ์ ประกอบด้วยขดลวดตัวนำหุ้มฉนวนพันอยู่บนแกนเหล็ก[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ประกายไฟฟ้า, ปรากฏการณ์ที่ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง เช่น อากาศหรือฉนวนไฟฟ้า ระหว่างจุด 2 จุดที่มีความต่างศักย์ไฟฟ้าสูง เกิดจากการเสื่อมสภาพเป็นฉนวนอย่างฉับพลันของตัวกลางนั้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ฟารัด, หน่วยของความจุไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ F โดยกำหนดว่าความจุไฟฟ้า 1 ฟารัด คือค่าความจุไฟฟ้าของตัวเก็บประจุ ซึ่งถ้ามีการถ่ายโอนประจุระหว่างแผ่นตัวนำทั้งสองในตัวเก็บประจุปริมาณ 1 คูลอมบ์ จะทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้า 1 โวลต์[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
แรงเคลื่อนไฟฟ้า (ร.ค.ฟ.), พลังงานที่แหล่งกำเนิดไฟฟ้าให้ต่อหนึ่งหน่วยประจุไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่ผ่านแหล่งกำเนิดนั้น โดยทั่วไปแรงเคลื่อนไฟฟ้ามีค่าใกล้เคียงความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างขั้วไฟฟ้าของเซลล์ไฟฟ้า หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขณะที่วงจรเปิด ใช้ตัวย่อว่า e.m.f. แทนด้วยสัญลักษณ์ E มีหน่ว[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
โวลต์, สัญลักษณ์ของหน่วยความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า ดู volt[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
โวลต์, หน่วยของความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ V โดยกำหนดว่า 1 โวลต์ คือ ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่าง 2 จุด บนตัวนำที่มีกระแสขนาด 1 แอมแปร์ผ่าน ทำให้เกิดกำลัง 1 วัตต์ระหว่าง 2 จุดนั้น[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
โวลต์มิเตอร์, อุปกรณ์ที่ใช้วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าระหว่างจุดสองจุดในวงจร[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
โอห์ม, หน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ W โดยกำหนดว่าความต้านทานไฟฟ้า 1 โอห์ม คือความต้านทานของตัวนำซึ่งมีปลายทั้งสองต่อกับความต่างศักย์ไฟฟ้า 1 โวลต์ แล้วมีกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนำนั้น 1 แอมแปร์[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
ความต้านทานไฟฟ้า, สมบัติอย่างหนึ่งของตัวนำที่จะต้านกระแสไฟฟ้า ถ้าตัวนำนั้นยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านไปได้ดีเรียกว่าตัวนำนั้นมีความต้านทานไฟฟ้าน้อย หรือเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ความต้านทานไฟฟ้าของตัวนำมีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างปลายของตัวนำกับกระแสไฟฟ้าที่ผ่า[พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]