น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตนํ้ากร่อย เช่น กดแดงหรือกดหัวโม่ง ( A. caelatusValencienne s) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเลหรือริวกิว [ A. thalassinus (Rüppell) ], ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต ( K. typusBleeker), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ [ H. borneensis (Bleeker) ].
น. ชื่อปลานํ้ากร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri (Pallas) ในวงศ์ Gobiidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหว และความสามารถขึ้นมาพ้นนํ้าได้คล้ายปลาจุมพรวดซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทำรูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวนํ้า ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้ ขนาดยาวได้ถึง ๒๗ เซนติเมตร, กะจัง ก็เรียก.
น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลำตัวกว้างตั้งแต่ ๑๕-๓๐๐ เซนติเมตร ลำตัวแบนลงมาก และต่อเนื่องกับครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด
น. ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยหลายชนิดใน ๒ สกุล คือ ในสกุล Eleutheronemaและในสกุล Polynemus วงศ์ Polynemidae ครีบอกตอนล่างมีก้านครีบแยกออกจากกันเป็นเส้นยาวรวม ๓-๗ เส้น แล้วแต่ชนิด ลำตัวและครีบสีเทาอมเงิน เช่น ชนิด E. tetradactylum (Shaw), P. sextarius Bloch & Schneider ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เซนติเมตร, กุเลา ก็เรียก.
น. ชื่อปลาทะเลชนิด Megalaspis cordyla (Linn.) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เรียวลู่ไปทางคอดหางซึ่งแคบมากและเป็นเหลี่ยมแข็งคล้ายแข้งไก่ หน้าครีบก้นมีกระดูกเป็นหนามแข็ง ๒ อัน พับซ่อนในร่องเนื้อได้ ตาโตมีหนังตาไขมัน ปากกว้าง ครีบอกยาวใหญ่เป็นรูปเคียว ครีบหางเป็นแฉกกว้าง ท้ายครีบหลังและครีบก้นมีครีบฝอย ๗-๑๐ ครีบ เรียงห่างกัน เกล็ดเล็กแต่เฉพาะที่อยู่ในแนวเส้นข้างตัวจนถึงข้างหางขยายใหญ่มาก ด้านบนของหัวและลำตัวมีสีเขียวอมเทา ด้านท้องมีสีขาวเงิน ขอบแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดำใหญ่ ว่ายน้ำเร็ว อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, ขาไก่ อีลอง อีโลง หรือ หางแข็ง ก็เรียก.
(ขะแหฺยง) น. ชื่อปลานํ้าจืดแทบทุกชนิดในวงศ์ Bagridae มีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ ส่วนหน้าสุดของครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบแข็ง ๑ ก้าน หยักเป็นหนามคม ถัดไปเป็นก้านครีบอ่อน ส่วนครีบท้องตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมันลักษณะเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับชนิดของปลา ครีบก้นสั้น รูปร่างคล้ายปลากดแต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น แขยงหินหรือกดหิน ( Pseudomystus siamensis Regan) แขยงใบข้าว [ Mystus cavasius (Hamilton-Buchanan) ] แขยงธงหรือแขยงหมู ( M. bocourti Bleeker) แขยงวังหรือแขยงหนู ( Bagrichthys obscures Bleeker).
น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ดชนิด Batrachoides grunniers (Bloch) และ Batrachomoeus trispinosus (Günther) ในวงศ์ Batrachoididae ปากกว้าง หัวทู่แบนลง ลำตัวกลมยาว มีสีนํ้าตาลเป็นด่างดวงทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ครีบท้องอยู่เยื้องไปข้างหน้าครีบอก หางกลม เฉพาะชนิดแรกมีรูที่มุมบนด้านในของครีบอก อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล, กบ บู่ทะเล ผีหลอก หรือ อุบ ก็เรียก.
น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ดชนิด Belodontichthys truncatus (Bleeker) ในวงศ์ Siluridae รูปร่างคล้ายปลาค้าว เว้นแต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ปากเชิดขึ้นถึงแนวสันหลัง ครีบหลังเล็กมาก ครีบอกใหญ่และยาว ส่วนบนลำตัวหนาลู่แคบลงไปในแนวสันท้อง หลังกว้าง ด้านหลังสีเทาอมเขียว ข้างท้องสีเงิน พบตามแหล่งนํ้าใหญ่ทั่วไป, เบี้ยว อ้ายเบี้ยว หรือ ขบ ก็เรียก.
น. กระดูกแหลมของปลาบางชนิด เช่น ปลากระเบนมีเงี่ยงที่โคนหาง หรือปลาดุกมีเงี่ยงที่ครีบอก, แง่ของสิ่งของบางอย่าง มีรูปหยักตอนปลายเช่นเบ็ดหรือลูกศร.
น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Siluridae มีฟันเล็กแต่แหลมคม ลำตัวด้านหลังสีนํ้าตาล ครีบต่าง ๆ มีจุดประสีเทาดำ เป็นพวกปลาเนื้ออ่อน มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Ompok krattensis (Bloch) ซึ่งมีครีบหลัง ปากเชิดขึ้น เหนือครีบอกมีจุดกลมสีดำ ๑ จุด, เนื้ออ่อน โอน หน้าสั้น สยุมพร หรือ นาง ก็เรียก
และชนิด Phalacronotus apogon (Bleeker) ไม่มีครีบหลัง ปากอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีจุดสีดำเหนือครีบอกบนลำตัว, เนื้ออ่อน แดง หรือ นาง ก็เรียก.
น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Raiamas guttatus (Day) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาว เพรียว แบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากแหลมยาวล้ำขากรรไกรล่าง ปากกว้าง ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางปลายหัว เกล็ดเป็นแบบเกล็ดเรียบ เส้นข้างตัวพาดต่ำ ๆ ใกล้แนวสันท้อง ครีบหลังอยู่ท้ายแนวกึ่งกลางลำตัวและมีก้านครีบ ๙-๑๑ ก้าน ครีบก้นอยู่คล้อยไปข้างท้ายของลำตัวและมีก้านครีบ ๑๓-๑๔ ก้าน ครีบอกอยู่ใกล้แนวสันท้อง ส่วนครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบหลัง ครีบหางเป็นแฉกลึก บริเวณข้างลำตัวมีจุดสีน้ำเงินดำเรียบเป็นแถวยาวในแนวระดับตา ต่ำลงไปเหนือส่วนท้องจะเป็นจุดประกระจายทั่วไป ครีบต่าง ๆ มีสีอมเหลือง แพนหางตอนล่างมีแถบสีดำพาดตามยาวอยู่ที่ขอบด้านใน พบในเขตต้นน้ำหรือแม่น้ำที่มีพื้นเป็นกรวดทรายน้ำไหลแรงในทุกภาค ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, นางอ้าว อ้าว หรือ อ้ายอ้าว ก็เรียก.
น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล Pterocryptis วงศ์ Siluridae ปากอยู่ต่ำเล็กน้อย หนวดยาวถึงโคนครีบอก ไม่มีเกล็ด ลักษณะคล้ายปลาเนื้ออ่อนพวกที่มีครีบหลัง เว้นแต่มีครีบก้นต่อเนื่องกับครีบหางที่มีขอบกลม ครีบอกมีก้านแข็งคล้ายเงี่ยง ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร เป็นปลาหายาก.
น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Amblyceps mucronatum Ng & Kottelat ในวงศ์ Amblycipitidae ตาเล็กมาก มีหนวดอยู่ระหว่างรูจมูก ๔ คู่ ไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว แบนข้าง ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง มีแผ่นเนื้ออยู่ส่วนหน้าของครีบอก ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นแผ่นเนื้อ คอดหางกว้าง ครีบหางเป็นแฉก พบอาศัยอยู่ตามแหล่งต้นนํ้าลำธาร ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร.
น. ชื่อปลานํ้าจืดทุกชนิดในสกุล Clarias วงศ์ Clariidae ไม่มีเกล็ด มีเงี่ยงเฉพาะที่ครีบอก ส่วนใหญ่ครีบหลังและครีบก้นยาวแต่ไม่ติดต่อกับครีบหาง เช่น ดุกอุย ( C. macrocephalus Günther) ซึ่งมีขอบปลายกระดูกท้ายทอยมน กลม ดุกด้าน [ C. batrachus (Linn.) ] ซึ่งมีขอบปลายกระดูกท้ายทอยแหลม ดุกลำพัน [ C. nieuhofi (Valenciennes) ] ซึ่งมีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง.
น. ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Plotosus lineatus (Thunberg) และ P. canius (Hamilton) ในวงศ์ Plotosidae มีเงี่ยงที่ครีบอกและครีบหลังตอนแรก ส่วนครีบหลังตอนที่ ๒ ต่อเนื่องกับครีบก้นและครีบหางยาว, สามแก้ว ปิ่นแก้ว หรือ เป็ดแก้ว ก็เรียก.
น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดกลาง รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีหลายชนิด ในสกุล Hypsibarbusวงศ์ Cyprinidae ลำตัวเรียวยาวแบนข้าง แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกัน บางชนิดสีเหลืองทอง บางชนิดสีเงินอมเขียว มีหนวด ๔ เส้น เกล็ดด้านข้างและด้านบนหลังมีฐานเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม ครีบอกและครีบท้องมักมีสีเหลืองปลายครีบสีส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด H. malcolmi (H.M. Smith) ลำตัวสีเหลืองทอง, ชนิด H. wetmorei (H.M. Smith) ลำตัวสีเงินอมเขียว, ชนิด H. pierrei (Sauvage) ลำตัวสีเทาเงิน, กระพาก ก็เรียก.
น. ชื่อปลาตะเพียนขนาดกลางชนิด Barbonymus altus (Günther) หรือ Puntius altus (Günther) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวสั้นกว้าง สีเงินหรือเหลืองทอง ครีบอกและครีบท้องสีเหลืองส้มสลับแดง ครีบหางสีเหลือง ขอบครีบหางสีแดงส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร.
น. ชื่อปลานํ้ากร่อยในวงศ์ Gobiidae ขนาดยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ที่ใช้ครีบอกต่างตีน ตาโปนมองเห็นเหนือนํ้าได้ดี เช่น ชนิด Periophthalmus barbarus (Linn.), Boleophthalmus boddarti (Pallas). (ดู จุมพรวด).
น. ชื่อปลาไหลนํ้าจืดชนิด Anguilla bicolor (Richardson) ในวงศ์ Anguillidae ที่ว่ายลงทะเลเพื่อขยายพันธุ์ ลำตัวกลมยาว แบนข้างทางท่อนหาง มีครีบอก เกล็ดเล็กฝังแน่นอยู่ในหนัง ลำตัวและครีบสีนํ้าตาลหรือเกือบดำเสมอกัน พบทางเขตภาคใต้ด้านทะเลอันดามัน ขนาดยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร.
น. ชื่อปลากดทะเลชนิด Arius leiotetocephalus Bleeker ในวงศ์ Ariidae ไม่มีเกล็ด มีหนวด ส่วนหน้าของครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง จัดอยู่ในพวกปลากดขนาดใหญ่ แต่แตกต่างจากปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โดยมีกระดูกบริเวณท้ายทอยเป็นแผ่นกลมรีใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือนํ้ากร่อยโดยเฉพาะบริเวณปากแม่นํ้า, ทุกัง ก็เรียก.
น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Pangasius sanitwongsei H.M. Smith ในวงศ์ Pangasiidae ไม่มีเกล็ด ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย รูปร่างคล้ายปลาสวาย เว้นแต่มีปลายก้านครีบอันแรกของครีบหลัง ครีบอก และครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้น ทั้งยังมีจุดสีขาวเด่นอยู่บนลำตัวเหนือครีบอก พบอาศัยอยู่ในเขตแม่นํ้าเจ้าพระยาและแม่นํ้าโขง เมื่อโตเต็มที่มีขนาดยาวกว่า ๓ เมตร.
น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Pangasius larnaudii Bocourt ในวงศ์ Pangasiidae ไม่มีเกล็ด ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย รูปร่างคล้ายปลาสวาย แต่มีจุดสีดำเด่นอยู่บนลำตัวเหนือครีบอก และพื้นลำตัวสีเรียบไม่มีลายพาดตามยาว พบชุกชุมตามแม่นํ้าในเขตภาคกลางและลุ่มแม่นํ้าโขง ขนาดยาวได้ถึง ๑.๓ เมตร.
น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Parexocoetus และ Cypselurus วงศ์ Exocoetidae ปากอยู่ปลายสุดของหัว เชิดขึ้นเล็กน้อย ตาโต หัวและด้านหลังแบนลงเล็กน้อยเป็นเหลี่ยมด้านท้องเกือบกลม ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหางซึ่งเป็นแฉกลึกโดยแฉกล่างยาวกว่าแฉกบน ครีบอกใหญ่ใช้ร่อนถลาไปเหนือผิวนํ้าคล้ายปีก ลำตัวยาวเพรียว ส่วนบนลำตัวสีเขียวหรือนํ้าเงิน ข้างท้องสีขาวเงิน อาศัยอยู่บริเวณผิวนํ้า ขนาดยาว ๑๐-๓๐ เซนติเมตร, ปลาบิน ก็เรียก.
น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Drepane วงศ์ Drepanidae ลำตัวสีเงิน สั้น กว้าง และแบนข้างมาก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ครีบสีเหลืองอ่อน ครีบอกยาวเรียว ครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบอก ครีบหางมีปลายเป็นเหลี่ยมมุมป้าน ชนิด D. punctata (Linn.) มีจุดดำที่ข้างตัวเรียงในแนวตั้งหลายแนว แต่ชนิด D. longimana (Bloch & Schneider) มีแถบสีเทาเรียงในลักษณะเดียวกัน, ทั้ง ๒ ชนิดอาศัยอยู่ตามพื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, แมลงปอ ก็เรียก.
น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Hippocampus วงศ์ Syngnathidae ลำตัวหนา หัวพับเข้าหาลำตัว ปากเป็นท่อยาว ทำให้ส่วนหัวดูคล้ายม้า ส่วนหางเรียวยาว ม้วนได้ ไม่มีครีบหาง ครีบหลังอยู่ตรงข้ามครีบก้นที่มีขนาดเล็กมาก มีครีบอกแต่ไม่มีครีบท้อง ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นปล้องตลอดทั้งตัวสีนํ้าตาล บางชนิดคาดด้วยแถบสีเข้มกว่าหรือมีจุดสีดำที่บางส่วนของลำตัว พบอาศัยตามแนวหินปะการังและสาหร่ายทะเล โดยทรงตัวในแนวตั้งและอาจใช้ส่วนหางพันยึดวัตถุใต้นํ้า หลังผสมพันธุ์ ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่ซึ่งเก็บไว้ในถุงหน้าท้อง ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร.
น. ชื่อปลาทุกชนิดในสกุล Thryssa, Setipinna และชนิด Lycothrissa crocodilus (Bleeker) ในวงศ์ Engraulidae ลำตัวยาว แบนข้างมาก ปากกว้าง เชิดขึ้นมากน้อยแล้วแต่ชนิด ฟันแหลมคมคล้ายฟันแมว ตาอยู่ค่อนไปทางปลายจะงอยปาก เกล็ดเป็นแบบเรียบ ใหญ่และบาง ท้องเป็นสันแหลมมีเกล็ดแข็ง เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปลายครีบอกมักยื่นยาวเป็นเส้นคล้ายหนวดแมว ครีบก้นเป็นแผ่นยาว มีทั้งที่อยู่ในนํ้ากร่อย นํ้าทะเล และนํ้าจืด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕-๓๐ เซนติเมตร.
น. ชื่อปลาไหลทะเลในสกุล Muraenesox และ Congresox วงศ์ Muraenesocidae ลำตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหางแบนข้าง ไม่มีเกล็ด ปากแหลมอ้าได้กว้าง จะงอยปากบนยาวล้ำขากรรไกรล่าง ฟันคมแข็งแรง ครีบอกใหญ่ พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาลอ่อนปนเหลืองหรือคล้ำ ด้านท้องสีขาว ขอบครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๒.๕ เมตร, เงี้ยว หลด ไหล หรือ มังกร ก็เรียก.
น. ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล Osteochilus และ Dangila วงศ์ Cyprinidae ที่มีจุดสีเข้มบนเกล็ด ทำให้เห็นเป็นแถวของจุดเรียงตามยาวอยู่ข้างตัวหลายแถว เหนือครีบอกหรือที่คอดหางมีแต้มหรือจุดสีดำใหญ่ โดยเฉพาะที่พบทั่วไปคือ ชนิด O. hasselti (Valenciennes) ที่ส่วนหลังมีสีเขียวหรือฟ้าเทา ด้านข้างสีนวลและท้องเป็นสีขาวเงิน และมีกลุ่มจุดสีแดงกระจายอยู่เหนือครีบอก ครีบต่าง ๆ ยกเว้นครีบอกมีสีแดงหรืออมแดง ในบางท้องที่ปลาชนิดนี้จะมีสีดังกล่าวจางมาก ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ขี้ขม นกเขา ทองลิน หรือ ตูโบ ก็เรียก.
(สะหฺลาด) น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Notopterus notopterus (Pallas) ในวงศ์ Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย หัวและลำตัวแบนข้างมาก ท้องเป็นสันคม ปากตํ่า สันหัวแอ่นลงเล็กน้อย ครีบหลังเด่นแต่มีขนาดเล็กเท่า ๆ กันกับครีบอก ครีบท้องเล็กมาก ครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหางซึ่งเล็กและมีขอบกลม พื้นลำตัวสีขาว หลังเทา ไม่มีจุดสีเด่นหรือลวดลายสีเข้มใด ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๓๕ เซนติเมตร ใช้ทำอาหารประเภททอดมัน ปลาเห็ด หรือลูกชิ้นได้รสชาติดี, ฉลาด หรือ ตอง ก็เรียก.
(สะหฺวาย) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Pangasius hypophthalmusSauvage ในวงศ์ Schilbeidae ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ไม่มีเกล็ด มีหนวดสั้น ๆ ๒ คู่ ลักษณะคล้ายปลาเทโพแต่ไม่มีจุดสีดำบนลำตัวเหนือครีบอกหลังแผ่นปิดเหงือก อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๑.๖ เมตร.
น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pangasius polyuranodon Bleeker ในวงศ์ Schilbeidae ลักษณะรูปร่างคล้ายปลาสวายแต่เพรียวกว่า ครีบหลังและครีบอกมีปลายยื่นยาว หนวดยาวถึงหรือเลยครีบอก ลำตัวด้านหลังสีเทาแกมเขียวหรือน้ำเงินเข้ม ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร.
น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Pteroisและ Dendrochirusวงศ์ Scorpaenidae โดยเฉพาะชนิด P. volitans (Linn.) ส่วนหัวมีหนามแข็งและติ่งหรือริ้วเนื้อ ว่ายน้ำเชื่องช้ามากขณะที่ครีบต่าง ๆ โดยเฉพาะครีบอกและครีบหลังซึ่งมีขนาดใหญ่และยาวจะแผ่กว้าง ลำตัวโดยเฉพาะครีบต่าง ๆ มีสีฉูดฉาดเป็นริ้วลายหรือจุด ส่วนใหญ่เป็นสีแดงส้มสะดุดตา ก้านครีบแข็งมีพิษรุนแรง หากินสัตว์อื่นในเวลากลางคืน จัดเป็นปลาเด่นชนิดหนึ่งของปลาทะเลประเภทสวยงาม ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร.
น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดโดยเฉพาะในสกุล Encrasicholinaรวมทั้งในสกุล Stolephorusวงศ์ Engraulidae หรือ Engraulididae รูปร่างกลมยาว แบนข้างเล็กน้อยหรือปานกลาง ปากกว้างมาก และอยู่ต่ำกว่าจะงอยปาก เกล็ดเป็นแบบเรียบและบาง ครีบอกอยู่ใกล้แนวสันท้อง ระหว่างครีบอก และครีบท้องมีหนามแหลมเล็กมาก ๒-๗ อัน มีสีเด่นเพียงแถบสีเงินพาดตลอดข้างลำตัว อยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ผิวน้ำเพื่อหากินแพลงก์ตอนบริเวณใกล้ฝั่ง ใช้ทำน้ำปลาที่มีคุณภาพดีหรือทำเป็นปลาตากแห้งทั้งตัว โดยเฉลี่ยยาว ๕-๑๐ เซนติเมตร บางชนิดยาวถึง ๑๕ เซนติเมตร มีชื่อเรียกที่รู้จักกันดีอีก คือ กะตัก ชื่ออื่น ๆ ที่แตกต่างกันตามขนาดหรือตามท้องถิ่นจากปลาขนาดเล็กถึงโตตามลำดับ คือ สายไหม เส้นขนมจีน ข้าวสาร หัวไม้ขีด หัวอ่อน และ ชินชัง นอกจากนี้ก็ยังมีชื่อ กล้วย มะลิ และ เก๋ย.
(หฺนวดพฺราม) น. ชื่อปลานํ้าจืดหรือน้ำกร่อยในสกุล Polynemus วงศ์ Polynemidae ลำตัวยาว แบนข้าง หัวแหลม ปากอยู่ตํ่ามาก ตาเล็ก เกล็ดเล็กเป็นแบบเกล็ดหนาม ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางใหญ่เป็นแฉกเรียวแหลมตอนปลาย ที่สำคัญก้านครีบส่วนล่างของครีบอกแยกกันและยื่นเป็นเส้นคล้ายหนวดหลายเส้นยาวเลยครีบหาง ลำตัวด้านหลังสีเทาหรือเขียวหม่น ส่วนท้องและครีบสีเหลืองหรือส้มคลํ้า.
น. ชื่อปลาทะเลบ้างอยู่ในน้ำจืดทุกชนิดในสกุล Coilia วงศ์ Engraulidae หรือ Engraulididae ลำตัวแบนข้าง ตั้งแต่ปลายปากถึงครีบหลังกว้างเป็นรูปสามเหลี่ยมและเรียวเล็กยาวไปทางหาง เกล็ดเป็นแบบเกล็ดเรียบหลุดง่าย ลำตัวจึงแลดูใส ก้านครีบอกบางก้านยื่นยาวมากคล้ายหนวด สำหรับชนิด C. dussumieri Valenciennes ซึ่งอาจพบอาศัยอยู่ในน้ำจืดมีจุดเรืองแสงสีเงินอมเหลืองบนเกล็ด ๓-๔ แถวที่ตอนล่างของลำตัว ทั่วไปยาวไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร.
น. ชื่อปลาทะเลบางชนิดในสกุล Caesio และ Pterocaesio วงศ์ Caesionidae ที่มีสีเหลืองไม่มากก็น้อยบนลำตัวหรือครีบโดยเฉพาะครีบหาง และมีจุดสีดำที่มุมบนของฐานครีบอก โดยเฉพาะชนิด C. cuning (Bloch) ขนาดยาวได้ถึง ๔๗ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ C. xanthosota Bleeker ที่มีความยาวถึง ๓๗ เซนติเมตร ทั้ง ๒ ชนิดนี้รูปร่างคล้ายปลากะพง คือ ลำตัวป้อม แบนข้าง ส่วนในสกุล Pterocaesio ลำตัวค่อนข้างกลมยาว ทั้งหมดมีแนวสันหลังโค้งพอ ๆ กับ แนวสันท้อง เป็นปลาฝูง มักพบอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง, เหลืองปล้องหม้อ หรือ เหลือง ก็เรียก.