ก. เกี่ยง, รังเกียจ, ไม่ลงรอย, เกี่ยงแย่ง, เกี่ยงแย้ง, เช่น คนใดอันรังร้าย จิตรพิศเกียงกล (จารึกวัดโพธิ์), โดยมากใช้เป็น เกี่ยง.
ว. แข็งแรง, กล้าหาญ, เช่น กูนี้คนขัน จะขามคนใด (สมุทรโฆษ).
(ไคฺร) ส. ผู้ใดผู้หนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง, (ซึ่งมิได้กำหนดแน่นอนลงไป) เช่น ฉันไม่อยากพึ่งใคร ใคร ๆ ก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้.
น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่นสงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่ายหนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ลูกช่วงที่ทำด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นม้วนเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่นโยนหรือปาใส่กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายที่ถูกปาเป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรำ ผู้แพ้ต้องออกไปรำ ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่หลัง.
ก. ช่วย เช่น คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ช่อยเหนือเฟื้อกู้ (จารึกหลัก ๑).
น. ใจ เช่น คนใดมามม่าว บให้ผ่าวเผาแด (ม. คำหลวง ชูชก).
ว. ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความไม่เจาะจงหรือเป็นคำถาม เช่น คนใด เมื่อใด.
ว. ใครก็ได้, อะไรก็ได้, เช่น คนใดคนหนึ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
ว. ใช้ประกอบนามหรือข้อความที่กล่าวอ้างมาแล้ว เช่น ในจดหมายฉบับนั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น, ใช้ประกอบนามที่หมายถึงบุคคล หรือสิ่งที่อยู่ห่างออกไป เช่น คนนั้น สิ่งนั้น, ใช้ประกอบคำอื่นคู่กับคำ ใด แสดงความแน่นอน เช่น คนใด…คนนั้น เมื่อใด…เมื่อนั้น.
น. หญิงที่ปรนเปรอเฉพาะชายคนใดคนหนึ่งในทางกามารมณ์โดยมิได้อยู่ในฐานะภรรยา.
น. คนใดไม่ดี ก็ตัดออกไปจากหมู่คณะ.
(บันนานุกฺรม) น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบการค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใดยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการพิมพ์.
ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี.
น. ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ซึ่งมิใช่เหตุส่วนตัวเฉพาะผู้กระทำความผิดคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเหตุที่เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดนั้นด้วยกันทุกคน เช่น ข้อเท็จจริงที่ว่าลักษณะบาดแผลที่ถูกทำร้ายเป็นอันตรายแก่กายถึงสาหัสหรือไม่สาหัส.
น. ข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับผู้กระทำความผิดคนใดคนหนึ่งอันควรยกเว้นโทษ ลดโทษ หรือเพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิดเฉพาะคนนั้น เช่น เหตุที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้เยาว์.