น. อวัยวะตั้งแต่ตะโพกถึงข้อเท้า สำหรับยันกายและเดินเป็นต้น (ไทยถิ่นอื่น ขา หมายความตั้งแต่ตะโพกถึงเข่า)
สิ่งของซึ่งมีลักษณะคล้ายขาสำหรับยันหรือรองรับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ ขาตั้ง
เรียกส่วนที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปขา เช่น ขากางเกง.
น. เนินที่นูนสูงขึ้นไปเป็นจอมเด่น.
น. ชื่อเหยี่ยวขนาดกลาง ในสกุล <i>Accipiter</i> วงศ์ Accipitridae สีเทานํ้าตาลมีลายตลอดตัว อกสีนํ้าตาลลายกระขาว มักอยู่ตามลำพัง เกาะซ่อนตัวบนต้นไม้เพื่อคอยโฉบล่าเหยื่อ มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาหงอน [ <i>A</i>. <i>trivergatus</i> (Temminck) ]เหยี่ยวนกเขาชิครา [ <i>A</i>. <i>badius</i> (Gmelin) ] เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น [ <i>A</i>. <i>gularis</i> (Temminck & Schlegel) ].
น. ชื่อเดือนที่ ๖ แห่งจันทรคติ ตกราวเดือนพฤษภาคม, ถ้าในปีอธิกมาสจะตกราวเดือนมิถุนายน.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล <i> Ovis</i> วงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องรูปร่างคล้ายแพะ แต่ไม่มีเครา มีเขา ๑ คู่ ไม่ผลัดเขา มีขนาดใหญ่โค้งงอ ปลายบิดไปข้างหน้า โคนเขาถึงประมาณกลางเขามีวงนูนลักษณะคล้ายพาลี ขนบนลำตัวยาวและอ่อนนุ่ม ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม ชนิดที่นำเลี้ยง ได้แก่ ชนิดย่อย <i> Ovis amon aries</i> Linn.
น. ชื่อสัตว์ขาปล้อง ชั้น Chilopoda มีเขี้ยว ๑ คู่ หัวและลำตัวยาวแบนหรือค่อนข้างแบน มีจำนวนปล้องตั้งแต่ ๑๕ ปล้องขึ้นไป แต่ละปล้องมีขา ๑ คู่ไปจนถึงปล้องสุดท้ายหรือเกือบสุดท้าย ขามี ๕-๗ ปล้อง อยู่ด้านข้างของลำตัว บางชนิดมีนํ้าพิษ ทำให้ผู้ถูกกัดเจ็บปวด เช่น ตะขาบไฟ (<i> Scolopendra morsitans</i>Linn.) ในวงศ์ Scolopendridae ลำตัวยาว ๑๔-๒๐ เซนติเมตร สีน้ำตาลแดง, กระแอบ หรือ จะขาบ ก็เรียก.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในสกุล <i> Capra</i>วงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ขนาดกลาง ขนลำตัวหยาบสีดำ ขาว หรือนํ้าตาล มีเขา ๑ คู่ ตัวผู้มีเครา หางสั้น มีความอดทน แข็งแรง และทนทานต่อโรคได้ดีกว่าสัตว์กีบคู่อื่น ๆ สามารถปีนป่ายที่สูงโดยเฉพาะโขดหินหรือภูเขาได้ดี ที่นิยมนำมาเลี้ยง เช่น ชนิด <i> Capra aegagrus hircus</i> Linn.
น. ชื่อสัตว์พวกแมงในอันดับ Araneae ปากมีรยางค์คู่หน้ารูปร่างคล้ายปากคีบและมีรยางค์ปากรูปทรงคล้ายขา ๑ คู่ ไม่มีหนวด ลำตัวขนาดแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด มีขา ๘ ขา ทุกชนิดมีขาที่สามารถชักใยจากรูเปิดตรงส่วนท้อง ส่วนใหญ่กินแมลง มีทั้งชนิดชักใยดักสัตว์ เช่น แมงมุมขี้เถ้า (<i>Pholcus</i>spp.) ในวงศ์ Pholcidae และที่กระโดดจับสัตว์ เช่น แมงมุมสุนัขป่า (<i>Pardosa</i>spp<i></i>.) ในวงศ์ Lycosidae.
น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชนิด <i>Giraffa camelopardalis</i> (Linn.) ในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ คอยาวมาก มีเขา ๑ คู่ ซึ่งมีหนังและขนคลุม ลำตัวลายมีสีต่าง ๆ กัน โดยมากเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองหรือน้ำตาลเข้มลักษณะเป็นดอกหรือเป็นตาราง ปลายหางเป็นพู่ อยู่รวมกันเป็นฝูง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา.
น. ชื่อสัตว์ขาปล้องหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ ในอันดับ Isopoda ที่เป็นปรสิตของสัตว์น้ำ ส่วนใหญ่ลำตัวยาวรีค่อนข้างแบน ที่สำคัญคือ มีหนวด ๒ คู่ และมีตาแบบไม่มีก้านตา ส่วนอกมี ๗ ปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์คล้ายขา ๑ คู่ ส่วนท้องมี ๖ ปล้อง มีรยางค์ว่ายน้ำ ๕ คู่ ลำตัวมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๕-๒๕ มิลลิเมตร และมีสีแตกต่างกัน เช่น นวล น้ำตาล ดำ ปากเป็นชนิดแทงดูด พบเกาะสัตว์น้ำหลายชนิด เช่น ปลา กุ้ง ปู ที่พบในน้ำจืด เช่น ในสกุล <i>Alitropus</i> วงศ์ Aegidae, ในน้ำเค็ม เช่น ในสกุล <i>Livoneca</i>วงศ์ Cymothoidae.