ว. สุกใส, เข้ม, จัด, (มักใช้แก่สีแดงหรือทองที่สุก).
ว. เกือบเท่า ๆ กัน, พอ ๆ กัน, ไล่เลี่ยกัน, เช่น ฝีมือกํ้ากึ่งกัน.
น. ต้นมะกลํ่าตาหนู. (ดู มะกลํ่า).
น. ต้นมะกลํ่าตาช้าง. (ดู มะกลํ่า).
น. ผีเสื้อ. (ดู ผีเสื้อ ๑).
น. ผีเสื้อกลางวัน. (ดู ผีเสื้อ ๑).
(-พฺร้า) ว. ไร้บิดาหรือมารดาเลี้ยงดูแต่เด็ก, (โบ) หมายถึง ร้างลูกร้างเมียด้วย เช่น สองจะลีลาสู่ฟ้า ลาแม่เป็นกำพร้า เจ้าแม่เอ้ยปรานี แม่รา (ลอ), (กลอน) ใช้เป็น ก่ำพร้า ก็มี เช่น เจ้าจะละเรียมไว้ ก่ำพร้าคนเดียว (ลอ).
ว. อยู่ในระยะคับขันกำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน สำนวนนี้เปรียบกับต้นไม้ที่ออกดอกและกำลังจะเป็นลูกคาบเกี่ยวกัน จึงว่า คาบลูกคาบดอก.
(ตฺระหฺลบ) ก. ตลบ, เขียนเป็น ตรหลบ หรือ ตระหลบ ก็มี เช่น สองก้ำกึ่งกันทานทบ แผลงศรตรหลบ ตรเลิดพันลึกนิดินบน (อนิรุทธ์), ไพร่พลเมืองนาวนาว นฤนาท แตรตระหลบก้องหล้า ส่งสยง (ยวนพ่าย), เถิดฤๅจะรื้อรบ ตระหลบวิ่งเข้าชิงแดน ฟันเสียให้นับแสน ให้เศียรขาดลงดาดดิน (พากย์นางลอย).
(ตฺระเหฺลิด) ก. เตลิด เช่น สองก้ำกึ่งกันทานทบ แผลงศรตรหลบ ตรเลิดพันลึกนิดินบน (อนิรุทธ์).
น. ชื่อแมงมุมขนาดใหญ่หลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Theraphosidae ลำตัวยาวมากกว่า ๓ เซนติเมตรขึ้นไป สีดำหรือน้ำตาลแก่ ไม่ชักใยดักสัตว์ มีขนดกหนาสีเดียวกัน ขุดรูอยู่ตามพื้นดิน คอยจับสัตว์เล็ก ๆ กิน ชนิดที่พบบ่อยและนิยมนำมารับประทาน เช่น ชนิด Haplopelma albostriatum (Simon) พบมากที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ชนิด H. minax (Thorell) พบมากที่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้, ก่ำบึ้ง หรือ อีบึ้ง ก็เรียก.
น. ชื่อแมลงอันดับ Lepidoptera มีปีกเป็นแผ่นบาง ๒ คู่ ลำตัว ปีก และขาปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กมาก คล้ายฝุ่นเมื่อมองด้วยตาเปล่า เกล็ดเหล่านี้ทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน ปากเป็นงวงยาวม้วนได้ มีทั้งชนิดหากินในเวลากลางวัน มีหนวดแบบเส้นด้าย ปลายหนวดเป็นปุ่ม เรียก ผีเสื้อกลางวัน และชนิดหากินในเวลากลางคืน หนวดมีหลายแบบ ปลายหนวดไม่เป็นปุ่ม เรียก ผีเสื้อกลางคืน, พายัพเรียก กะเบ้อ, อีสานเรียก กะเบ้อ กะเบี้ย ก่ำบี้ หรือ กะบี้.
น. ชื่อปลากัดที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลากัดลูกหม้อหรือปลากัดหม้อกับปลากัดลูกป่าหรือปลากัดป่าหรือปลาป่าซึ่งต่างก็เป็นชนิด Betta splendens Regan ในวงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกัน ปลากัดพันธุ์นี้มีสีลำตัวและครีบออกแดง รูปร่างก้ำกึ่งระหว่างพันธุ์ทั้งสองเนื่องจากไม่มีคุณสมบัติด้านความทะมัดทะแมงและสีสันตลอดจนชั้นเชิงการต่อสู้ จึงไม่ค่อยนิยมเลี้ยงกัน.
น. หญิงที่อยู่ในวัยระหว่างสาวกับเด็กก้ำกึ่งกัน.
(อุปะ-, อุบปะ-) น. ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองในภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้วผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย)