(-พฺร้า) น. เรียกหนังที่เป็นผิวชั้นนอกสุดของคนและสัตว์ ว่า หนังกำพร้า, ผิวหนัง ก็เรียก.
(-พฺร้า) ว. ไร้บิดาหรือมารดาเลี้ยงดูแต่เด็ก, (โบ) หมายถึง ร้างลูกร้างเมียด้วย เช่น สองจะลีลาสู่ฟ้า ลาแม่เป็นกำพร้า เจ้าแม่เอ้ยปรานี แม่รา (ลอ), (กลอน) ใช้เป็น ก่ำพร้า ก็มี เช่น เจ้าจะละเรียมไว้ ก่ำพร้าคนเดียว (ลอ).
น. หนังที่เป็นผิวชั้นนอกสุดของคนและสัตว์, ผิวหนัง ก็เรียก.
(กับปะหฺนก) ว. กำพร้า, น่าสงสาร, เช่น อันว่าพราหมณชรา ชีณกัปนก (ม. คำหลวง ชูชก).
น. ชื่อไม้เถาชนิด Canavalia rosea (Sw.) DC. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามหาดทรายชายทะเล ดอกสีชมพู ขาว หรือ ม่วง, กำพร้า หรือ ถั่วคร้า ก็เรียก.
น. เหงื่อที่ปนกับฝุ่นละอองติดกรังอยู่กับหนังกำพร้า, ไคล ก็ว่า.
(ไคฺล) น. เหงื่อที่ปนกับฝุ่นละอองติดกรังอยู่กับหนังกำพร้า, (ปาก) ขี้ไคล, ราชาศัพท์ว่า พระเมโท
น. หนังที่เป็นผิวชั้นนอกสุดของคนและสัตว์, หนังกำพร้า ก็เรียก
ก. ขอร้องให้ช่วยออกเงินทำบุญเป็นต้นตามสมัครใจ เช่น เรี่ยไรสงเคราะห์เด็กกำพร้า.
ก. เอาใจใส่ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ลูกกำพร้าไม่มีใครแลเหลียว, เหลียวแล ก็ว่า.
(-เคฺราะ) ก. อุดหนุน เช่น สงเคราะห์เด็กกำพร้า.
น. กิจการเกี่ยวกับการสงเคราะห์บุคคลที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ เช่น คนชรา คนพิการ เด็กกำพร้า. (อ. public assistance)
ก. หมดบุญ, ตาย, เช่น เขาเป็นลูกกำพร้า พ่อแม่สิ้นบุญไปหลายปีแล้ว.
เสียเปล่า (ใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เด็กกำพร้าคนนี้ เลี้ยงไว้จนโตก็พึ่งได้ ไม่เสียหลาย งานวิจัยชิ้นนี้ทำไปก็ได้ประโยชน์ ไม่เสียหลาย.
ก. ลองทำดูโดยเชื่อว่าสุดแต่บุญหรือบาปจะบันดาลให้เป็นไป เช่น ลองเสี่ยงบุญเสี่ยงกรรมขอเด็กกำพร้ามาเลี้ยงดู ถ้าเขามีบุญก็จะได้ดิบได้ดีต่อไป.
ว. ไม่มีที่พึ่ง, กำพร้า, ยากจน, เข็ญใจ.