น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Sandoricumkoetjape (Burm. f.) Merr. ในวงศ์ Meliaceae ผลค่อนข้างกลม เปลือกนุ่ม สีเหลือง เนื้อกินได้, สะท้อน ก็เรียก, พายัพเรียก มะต้อง หรือ มะตื๋น.
ก. กระเด็นกลับ, กระดอนขึ้น.
ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ครบถ้วน.
ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล-กระบิล, กำแพง-กระแพง, กุฎี-กระฎี, ขจัด-กระจัด, ตวัด-กระหวัด, สะท้อน-กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล-กระกูล, ตระลาการ-กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม-กระซุ้ม, โดด-กระโดด, พุ่ม-กระพุ่ม, ยาจก-กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ-กระทำ, ทุ้ง-กระทุ้ง, เสือกสน-กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
ก. แต่งตัวมีเครื่องประดับ เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง, มีเครื่องปรุงพิเศษกว่าปรกติ เช่น กระท้อนทรงเครื่อง, ประดิดประดอยให้งดงามเป็นพิเศษ เช่น ตัวหนังสือทรงเครื่อง
น. ชื่อผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่ ๒ ชนิด ในวงศ์ Saturniidae ความกว้างเมื่อกางปีก วัดจากปลายปีกข้างหนึ่งถึงปลายปีกอีกข้างหนึ่งยาว ๒๑-๒๗ เซนติเมตร ลำตัวและอกปกคลุมด้วยขนสีนํ้าตาลแดง ปีกสีนํ้าตาลแดงมีลวดลาย บริเวณเกือบกึ่งกลางปีกมีลักษณะบางใส เช่น ชนิด Attacus atlas (Linn.) ปลายปีกคู่หน้ามีจุดสีน้ำตาลดำ ๑ จุด พบทั่วไป ส่วนใหญ่กินใบกระท้อนและฝรั่ง และชนิด Archaeoattacus edwardsiiWhite ปลายปีกคู่หน้ามีจุดสีน้ำตาลดำ ๓ จุด พบที่จังหวัดเชียงใหม่.
น. อากรที่เรียกเก็บจากจำนวนต้นของไม้ผลยืนต้น ๗ ชนิด คือ ขนุน สะท้อน (กระท้อน) เงาะ ส้มต่าง ๆ มะไฟ ฝรั่ง สาเก และไม้ล้มลุกคือสับปะรด (ลัทธิธรรมเนียม).
น. ต้นกระท้อน. (ดู กระท้อน ๑).
น. ต้นกระท้อน. (ดู กระท้อน ๑).
น. ของหวานทำด้วยเนื้อผลไม้รสเปรี้ยวลอยในนํ้าเชื่อมเจือเกลือเล็กน้อย เช่น ส้มลอยแก้ว กระท้อนลอยแก้ว.
(-พัดสอน) น. อากรประเภทหนึ่งซึ่งเป็นผลประโยชน์ของแผ่นดิน เก็บจากจำนวนพื้นที่ที่ปลูกไม้ล้มลุกบางประเภทและจำนวนไม้ผลยืนต้นบางประเภท เช่น ขนุน เงาะ กระท้อน มะไฟ เก็บเป็นรายปี.