(ซี) n. พยัญชนะอังกฤษตัวที่3, ตัวเลข100ของโรมัน, สัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุคาร์บอน ภาษาซีเป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษานี้เริ่มต้นมาจากห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell ในช่วงทศวรรษ 1970 ภาษาซีนี้ เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปเทียบเคียงได้กับภาษาเบสิก (BASIC) หรือภาษาปาสกาล (Pascal) ความที่ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้ง่ายและสะดวก โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น Lotus 1-2-3 และ Microsoft FoxPro ก็เขียนด้วยภาษาซี ภาษาซีได้เปรียบภาษาอื่น ๆ อย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ 1. ภาษาซีง่ายในการเขียน และเรียนรู้ได้ง่ายเกือบจะเท่ากับภาษาเบสิก2. โปรแกรมภาษาซีใช้เวลาของเครื่อง (คอมพิวเตอร์) น้อยมาก พอ ๆ กับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) แต่เขียนได้ง่ายกว่ากันมาก3. ภาษาซีใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นแมคอินทอชหรือไอบีเอ็ม (แทบจะไม่ต้องแก้ไขดัดแปลงอะไรเลย ผิดกับภาษาเบสิกและภาษาปาสกาล ซึ่งหากนำไปใช้กับเครื่องต่างตระกูลกันแล้ว จะต้องแก้ไขมากจนเรียกได้ว่าไม่คุ้ม
(สคัมพิวทะริซ) n. ภาษารหัสคอมพิวเตอร์ นักคอมพิวเตอร์หมายถึงคำศัพท์หรืออาจเป็นสำนวนต่าง ๆ ที่นักคอมพิวเตอร์มักใช้ และเป็นที่รู้จักในวงการนักคอมพิวเตอร์ด้วยกัน เช่น garbage ปกติแปลว่าขยะ นักคอมพิวเตอร์นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ
ระบบปฏิบัติการแบบใช้จานโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่สั่งการให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทำงาน ถ้าจะแปลให้ตรงตัว ก็จะเรียกได้ว่า เป็นระบบปฏิบัติการแบบที่ใช้จานบันทึกข้อมูล เรามักจะใช้คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันดีว่า DOS (อ่านว่า ดอส) ส่วนระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ เรียกว่า OS อ่านว่า โอเอส (Operating System) ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ประเภทเทียบเคียงกับไอบีเอ็ม (IBM compatibles) หรือพีซี (PC) จะใช้ "ดอส" ที่เขียนโดยบริษัทไมโครซอฟต์ นิยมเรียกกันว่าMS-DOS หรือ Microsoft DOS ส่วนระบบปฏิบัติการที่ใช้กับคอมพิวเตอร์แมคอินทอช มีชื่อว่า System 6 หรือ 7
(ไอทริพเพิลอี) ย่อมาจาก Institute of Electrical and Electronic Engineers แปลว่า สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสถาบันที่ทำการศึกษาวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งมีวิชาการด้านคอมพิวเตอร์รวมอยู่ด้วย เน้นในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีและการประมวลผลข้อมูลเพื่อการแลdเปลี่ยนสารสนเทศ และความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ให้ สถาบันนี้เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการทั่วไป
สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ใช้ตัวย่อว่า IEEE (อ่านว่า ไอทริพเพิลอี) เป็นสถาบันที่ทำการศึกษาวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งมีวิชาการด้านคอมพิวเตอร์รวมอยู่ด้วย เน้นในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีและการประมวลผลข้อมูลเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ และความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน ต่าง ๆ ให้ สถาบันนี้เป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการทั่วไป
อินเทลเป็นชื่อบริษัทในสหรัฐ ที่ผลิตไอซี (IC) หรือไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) ที่ใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กหรือพีซี (PC) ไมโครโพรเซสเซอร์เหล่านี้ที่เป็นที่รู้จักก็คือ 8088, 80286, 80386, 80486, Pentium, Pentium Pro และ Pentium II
(เรค'เคิร์ด) n. บันทึก, การบันทึก, สำนวน, สิ่งที่บันทึกไว้, ประวัติ, เอกสาร, หลักฐานที่บันทึกหรือเก็บไว้, จานเสียง, แผ่นเสียง, เทปบันทึก vt., vi. (รีคอร์ด') บันทึก, ลงบันทึก adj. เป็นบันทึก, เกี่ยวกับบันทึก, ยอดเยี่ยม, ทำลายสถิติ, ตีกว่าคนอื่น ๆ ทั้งหมด, -Phr. (on record เป็นที่รู้กัน) ระเบียนบันทึก1. หมายถึงหน่วยหนึ่งของข้อมูลที่บันทึกไว้ในฐานหรือคลังข้อมูลโดยปกติ ระเบียนหนึ่งจะประกอบด้วยเขตข้อมูล (field) 1 เขตขึ้นไป เช่น ระเบียนของพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วยเขตข้อมูล 10 เขต มี ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเข้าทำงาน เงินเดือนที่ได้รับ ตำแหน่งปัจจุบัน ฯ เป็นต้น ดู field ประกอบ2. ในอีกความหมายหนึ่ง แปลว่า บันทึกเก็บในหน่วยความจำหรือในสื่อที่ใช้เก็บข้อมูลชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น จานบันทึก (ในภาษาอังกฤษ มักใช้คำว่า write แทนมากกว่า)
ทีเอสอาร์ <คำอ่าน>ย่อมาจาก terminate and stay resident program แปลว่า โปรแกรมค้างในหน่วยความจำ หมายถึง โปรแกรมชนิดพิเศษที่จะอยู่ในแรม (RAM) เสมอ สามารถเรียกหาได้โดยการกดแป้นคำสั่งที่กำหนดไว้เป็นพิเศษ การเรียกโปรแกรมประเภทนี้ จะเรียกได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะกำลังทำโปรแกรมอะไรอยู่ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เรามีระบบวินโดว์ ซึ่งทำให้เราเรียกโปรแกรมมาใช้พร้อม ๆ กันหลายโปรแกรมได้อยู่แล้ว โปรแกรมประเภท TSR จึงไม่เป็นที่รู้จักอีกต่อไป
(เวล'โนน) adj. มีชื่อเสียง, ดี, เป็นที่รู้จักกันทั่วไป, คุ้นเคย
กันบันทึกหมายถึง การป้องกันมิให้มีการบันทึกข้อมูลใด ๆ ลงไปในแผ่นจานบันทึก ส่วนมากจะทำเพื่อมิให้มีการบันทึกทับข้อมูลที่อยู่เดิม เพราะจะทำให้ข้อมูลเดิมหายไป วิธีทำก็มีหลายแบบ เช่น ถ้าเป็นจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ก็ใช้เลื่อนปุ่มด้านหลัง ถ้าเป็นจานบันทึกขนาด 5.25 นิ้ว ก็ใช้กระดาษกาวเล็ก ๆ ปิดที่ช่องแหว่งด้านข้าง ถ้าเป็น แถบบันทึก ก็ถอดวงแหวนออก และมีคำเตือนซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่า "No ring, no write"