การประมวลผลเชิงกลุ่มหมายถึงการประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับโดยมีระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นตัวควบคุม ในการประมวลผลแบบนี้ เราจะต้องจัดรวบรวมข้อมูลและแบ่งแยกเป็นกลุ่มไว้ให้เรียบร้อยก่อน จึงส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลทีเดียว เมื่อเสร็จแล้วจึงจัดรวบรวมเป็นรายงาน หรือสรุปผลอีกทีหนึ่ง วิธีการประมวลผลแบบนี้ทำง่าย ประหยัด และตรงไปตรงมา แต่อาจจะช้าไปบ้าง เพราะต้องรอให้ข้อมูลเรียบร้อยก่อน ตรงกันข้ามกับการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (on line proessing) ซึ่งหมายถึงการที่เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูลดู on line processing ประกอบ
ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล
ปลั๊กตัวเมียหมายถึง ปลั๊กไฟฟ้าแบบหนึ่งที่เป็นตัวรองรับ (มีแต่รูที่จะรับ การเสียบจากปลั๊กตัวผู้อีกทีหนึ่ง)
(เอชเอฟเอส) ย่อมาจาก hierarchical file system (แปลว่า ระบบการเก็บแฟ้มข้อมูลตามลำดับชั้น) เป็นระบบที่ช่วยทำให้จัดเก็บแฟ้มข้อมูลเป็นกลุ่ม วิธีการเก็บแบบนี้ เป็นการเก็บแฟ้มข้อมูลไว้ในโฟลเดอร์ (folder) เราจะเห็นสัญรูป (icon) ของโฟลเดอร์ต่าง ๆ นี้บนจอภาพ และเมื่อเปิดเข้าไปในแต่ละโฟลเดอร์ ก็จะมองเห็นแฟ้มข้อมูล หรืออาจจะมีโฟลเดอร์ย่อย (subfolder) อยู่ภายในโฟลเดอร์อีกทีหนึ่ง การเก็บแฟ้มในระบบนี้ ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายกว่าเรื่อง สารบบ (directory) และสารบบย่อย (subdirectory) ของดอส เพราะเห็นภาพชัดเจนกว่า
ระบบการเก็บแฟ้มข้อมูลตามลำดับชั้นใช้ตัวย่อว่า HFS เป็นระบบที่ช่วยทำให้จัดเก็บแฟ้มข้อมูลเป็นกลุ่ม วิธีการเก็บแบบนี้ เป็นการเก็บแฟ้มข้อมูลไว้ในโฟลเดอร์ (folder) เราจะเห็นสัญรูป (icon) ของโฟลเดอร์ต่าง ๆ นี้บนจอภาพ และเมื่อเปิดเข้าไปในแต่ละโฟลเดอร์ ก็จะมองเห็นแฟ้มข้อมูล หรืออาจจะมีโฟลเดอร์ย่อย (subfolder) อยู่ภายในโฟลเดอร์อีกทีหนึ่ง การเก็บแฟ้มในระบบนี้ ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายกว่าเรื่อง สารบบ (directory) และสารบบย่อย (subdirectory) ของดอส เพราะเห็นภาพชัดเจนกว่า
ย่อมาจาก hertz เป็นหน่วยวัดการสั่นสะเทือนของกระแสไฟฟ้าที่ใช้จำนวนมาก ๆ เพื่อวัดความเร็วของการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง 1 เฮิร์ทซ์ เท่ากับ 1 รอบต่อวินาที เมื่อวัดกันในขนาดจำนวนมากจริง ๆ จึงใช้หน่วยใหญ่ที่เรียกว่า เมกะเฮิร์ทซ์ (megahertz) ใช้ตัวย่อว่า MHz ไมโครคอมพิวเตอร์ปัจจุบันจะทำงานด้วยความเร็วประมาณ 25 - 60 เมกะเฮิร์ทซ์
(โลคะโม'เชิน) n. การเคลื่อนจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่ง, การเคลื่อนที่, อำนาจการเคลื่อนที่, See Also:locomote vi. ดูlocomotion, Syn.progress, movement, advance, Ant.stillness, rest
(แอลพีที) ย่อมาจาก line printer ในระบบดอส หมายถึงช่องทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีไว้สำหรับเสียบสายต่อไปยังเครื่องพิมพ์ ถ้ามีเครื่องพิมพ์ต่ออยู่หลายเครื่อง จะเรียกชื่อช่องแรกว่า แอลพีทีหนึ่ง (LPT1) ช่องต่อมาเป็นแอลพีทีสอง (LPT2)
แผงหลักหมายถึง แผงวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อุปกรณ์ต่าง ๆ จะเข้าไปเชื่อมต่อด้วยอีกทีหนึ่ง เช่น ซีพียู (CPU) , รอม (ROM) , แรม (RAM) , ชิป (chip) และยังรวมถึงช่องที่เตรียมไว้เสียบแผ่นวงจรพิเศษที่อาจจะเพิ่มมาภายหลัง ที่เรียกว่า "แผงวงจรลูก" ดู daughterboard ประกอบ
(เน็ตไบออส) ย่อมาจาก Network Basic Input / Output System หมายความถึงไบออสที่ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับชนิดของอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผล ตลอดจนหน่วยความจำที่จะใช้ในเครือข่าย เพื่อช่วยไบออสของแต่ละเครื่องที่มีอยู่แล้วอีกทีหนึ่ง ดู Bios ประกอบ