บทความ
Premium
Word Game
New
CTA
เกี่ยวกับ
Classic version
ไทย
Log in
Log in
แปลศัพท์
PopThai
แปลศัพท์
US
8
ผลลัพธ์ สำหรับ
จิ้งเหลนด้วง
ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น:
-จิ้งเหลนด้วง-
,
*จิ้งเหลนด้วง*
ภาษา
ไทย-ไทย:
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
[with local updates]
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
จิ้งเหลนด้วง
๑
น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งเหลนที่ไม่มีขาหรืออาจมีร่องรอยของขาคู่หลังเหลืออยู่เล็กน้อย ในวงศ์ Dibamidae และวงศ์ Scincidae ลำตัวเรียวยาว ขนาดยาวตั้งแต่ ๗-๒๕ เซนติเมตร เกล็ดลำตัวเรียบ อาศัยอยู่ใต้ผิวดินที่ร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายซึ่งมีซากผุพังของพืชปกคลุม, ในวงศ์ Dibamidae เฉพาะเพศผู้มีร่องรอยของขาคู่หลังเป็นแผ่นแบนให้เห็นเล็กน้อย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่
จิ้งเหลนด้วง
สีม่วง (
Dibamus alfredi
Taylor) ซึ่งพบทางภาคใต้ และ
จิ้งเหลนด้วง
สมศักดิ์ (
D. somsaki
Honda, Nabhitabhata, Ota & Hikida) ซึ่งพบที่เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ส่วนในวงศ์ Scincidae ไม่มีขาทั้งเพศผู้และเพศเมีย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ชนิด
Isopachys anguinoides
(Boulenger) พบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ชนิด
I. roulei
(Angel) พบที่จังหวัดชลบุรี, ชนิด
I. gydenstolpei
Lönnberg และ
I. borealis
Lang & Bohme พบทางภาคตะวันตก ชนิด
Davewakeum miriamae
Heyer พบที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา.
จิ้งเหลนด้วง
หางลาย
ดู ปากจอบ
.
จิ้งเหลน
น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scincidae หัวค่อนข้างโต ลำตัวยาว เกล็ดเรียบเป็นมันซ้อนกันตั้งแต่คอตลอดลำตัวไปจนถึงขาและหาง หางยาว พวกที่มี ๔ ขา เช่น จิ้งเหลนบ้าน [
Mabuya multifasciata
(Kuhl) ] จิ้งเหลนลาย [
Lipinia vittigera
(Boulenger) ] พวกที่ไม่มีขา เรียก
จิ้งเหลนด้วง
ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบก หากินตามพื้นดินที่มีกิ่งไม้และใบไม้ปกคลุม กินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดิน ชนิดที่อยู่ใต้ผิวดินมีขาเล็กมาก เช่น จิ้งเหลนเรียวขาเล็กหรือเมียงู [
Lygosoma quadrupes
(Linn.) ], พายัพเรียก จั๊กเล้อ.
ปากจอบ
น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งเหลน ชนิด
Isopachys gyldenstolpei
Lönnberg ในวงศ์ Scincidae ปลายปากบนยื่นยาวกว่าปากล่าง ลักษณะแบนกว้างคล้ายจอบ ตัวกลมเป็นมัน สีนํ้าตาลเหลืองลายดำ ไม่มีขา หางสั้น ปลายตัด อาศัยตามดินร่วนหรือดินปนทราย กินตัวอ่อนแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก,
จิ้งเหลนด้วง
หางลาย ก็เรียก.
ไทย-ไทย:
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
[with local updates]
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
จิ้งเหลนด้วง
๑
น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งเหลนที่ไม่มีขาหรืออาจมีร่องรอยของขาคู่หลังเหลืออยู่เล็กน้อย ในวงศ์ Dibamidae และวงศ์ Scincidae ลำตัวเรียวยาว ขนาดยาวตั้งแต่ ๗-๒๕ เซนติเมตร เกล็ดลำตัวเรียบ อาศัยอยู่ใต้ผิวดินที่ร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายซึ่งมีซากผุพังของพืชปกคลุม, ในวงศ์ Dibamidae เฉพาะเพศผู้มีร่องรอยของขาคู่หลังเป็นแผ่นแบนให้เห็นเล็กน้อย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่
จิ้งเหลนด้วง
สีม่วง (
Dibamus alfredi
Taylor) ซึ่งพบทางภาคใต้ และ
จิ้งเหลนด้วง
สมศักดิ์ (
D. somsaki
Honda, Nabhitabhata, Ota & Hikida) ซึ่งพบที่เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ส่วนในวงศ์ Scincidae ไม่มีขาทั้งเพศผู้และเพศเมีย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ชนิด
Isopachys anguinoides
(Boulenger) พบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ชนิด
I. roulei
(Angel) พบที่จังหวัดชลบุรี, ชนิด
I. gydenstolpei
Lönnberg และ
I. borealis
Lang & Bohme พบทางภาคตะวันตก ชนิด
Davewakeum miriamae
Heyer พบที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา.
จิ้งเหลนด้วง
หางลาย
ดู ปากจอบ
.
จิ้งเหลน
น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scincidae หัวค่อนข้างโต ลำตัวยาว เกล็ดเรียบเป็นมันซ้อนกันตั้งแต่คอตลอดลำตัวไปจนถึงขาและหาง หางยาว พวกที่มี ๔ ขา เช่น จิ้งเหลนบ้าน [
Mabuya multifasciata
(Kuhl) ] จิ้งเหลนลาย [
Lipinia vittigera
(Boulenger) ] พวกที่ไม่มีขา เรียก
จิ้งเหลนด้วง
ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบก หากินตามพื้นดินที่มีกิ่งไม้และใบไม้ปกคลุม กินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดิน ชนิดที่อยู่ใต้ผิวดินมีขาเล็กมาก เช่น จิ้งเหลนเรียวขาเล็กหรือเมียงู [
Lygosoma quadrupes
(Linn.) ], พายัพเรียก จั๊กเล้อ.
ปากจอบ
น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งเหลน ชนิด
Isopachys gyldenstolpei
Lönnberg ในวงศ์ Scincidae ปลายปากบนยื่นยาวกว่าปากล่าง ลักษณะแบนกว้างคล้ายจอบ ตัวกลมเป็นมัน สีนํ้าตาลเหลืองลายดำ ไม่มีขา หางสั้น ปลายตัด อาศัยตามดินร่วนหรือดินปนทราย กินตัวอ่อนแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก,
จิ้งเหลนด้วง
หางลาย ก็เรียก.
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ